การเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาไทย รูปแบบอัตนัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดราชบุรี ภาณุพงศ์ แก้วด้วง

Main Article Content

ภาณุพงศ์ แก้วด้วง
ศิริดา บุรชาติ

บทคัดย่อ

ข้อสอบอัตนัยเป็นเครื่องมือในการประเมินที่สะท้อนถึงความสามารถในการใช้ภาษาการเขียนและการสื่อสารอย่างเป็นทางการของผู้เรียน โดยการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการสอบ O-NET วิชาภาษาไทยในข้อสอบอัตนัยทั้งคะแนนรวมและรายข้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดราชบุรี และเปรียบเทียบผลการสอบข้อสอบอัตนัยเมื่อปีการศึกษาและสังกัดของโรงเรียนต่างกัน และเพื่อเปรียบเทียบผลของการสอบในปีการศึกษาที่มีข้อสอบอัตนัยกับปีการศึกษาที่ไม่มีข้อสอบอัตนัย โดยประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดราชบุรี ที่เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระหว่างปีการศึกษา 2563 ถึง 2565 ในวิชาภาษาไทย โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย t-test และ ANOVA เพื่อเปรียบเทียบระดับคะแนน ผลการศึกษาพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยจากการสอบวิชาภาษาไทย โดยข้อสอบอัตนัยในภาพรวมของนักเรียนในปีการศึกษา 2565 สูงกว่าปี 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในบางรายข้อคำถามนักเรียนในปีการศึกษา 2565 กลับมีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่า 2) ผลคะแนนเฉลี่ยจากการสอบข้อสอบอัตนัยยังแปรปรวนไปตามปีการศึกษากับสังกัดโรงเรียน โดยนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 3) ผลคะแนนเฉลี่ย O-NET วิชาภาษาไทยที่ไม่มีข้อสอบอัตนัย (ปีการศึกษา 2563) ไม่แตกต่างกับปีที่มีข้อสอบอัตนัยในปีการศึกษา 2564 แต่กลับพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับปีการศึกษา 2565 จากผลการศึกษาควรมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความเชื่อมโยงกับการอ่านออกเขียนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง วิชาภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

ตรีคม พรมมาบุญ และคนอื่น. (2564). ผลกระทบจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปัจจัยและแนวปฏิบัติที่ดีในการนำผลการทดสอบไปใช้ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

ปนัดดา หัสปราบ และนันทนา จันทร์ฝั้น. (2564). แนวทางพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ. กรุงเทพ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). คู่มือการถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (LEARNING LOSS). http://academic.obec.go.th/

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2566a). รายงานข้อค้นพบการใช้ภาษาไทยของนักเรียนจากการทดสอบ O-NET ด้วยรูปแบบข้อสอบอัตนัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. https://www.niets.or.th/

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2566b). รายงานผล O-NET ด้วยแผนที่ประเทศไทย.https://www.niets.or.th/

ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2564). การพัฒนาเครื่องมือวัดในการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ กรุงเทพ: บริษัท บุคพลัส พับลิชชิ่ง จํากัด

Bloom, B.S. (Ed.). Engelhart, M.D., Furst, E.J., Hill, W.H., Krathwohl, D.R. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. New York: David McKay Co Inc.

Coady, J. (1979). A psycholinguistic model of the ESL reader. In R. Mackay; B. Barhman; and R. R. Jordan (eds.), Reading in a Second Language, pp. 5-12. Rowley. Mass: Newbury House.

Goodman, Kenneth. (1987). What's Whole in Whole Language (Excerpts). In Dorothy Watson and Kenneth Goodman (eds.), The Whole Language Approach to Reading, pp. 8-9. Paper presented at the Statewide Conference on Teaching English as a Second Language.

Krashen, S. D. (1993). The Power of Reading. Eaglewood, CO Libraries Unlimited.

Williams, E. (1986). Reading in Language Classroom. London: Macmillan Publishers, Ltd.