การศึกษาผลการดำเนินงานการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน งานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) และพิจารณาจากความสมัครใจในการเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร จำนวน 132 คน และครู จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่และร้อยละ และทดสอบข้อมูลหลังการดำเนินการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ด้วยสถิติแบบไม่อิงพารามิเตอร์ (non-parametric) คือ การทดสอบลำดับที่โดยเครื่องหมายของวิลค็อกซัน (Wilcoxon signed rank test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1) การดำเนินการหลังการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ของผู้บริหารและครู ภาพรวมส่วนใหญ่พบว่า หลังการอบรมมีการดำเนินงานการนำผลการทดสอบ O-NET ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน สูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ข้อค้นพบที่เป็นวิธีปฏิบัติที่ดีหลังเข้าร่วมอบรมของผู้บริหารพบว่า การให้นักเรียนได้ฝึกทำข้อสอบ O-NET ย้อนหลัง ทำให้นักเรียนได้แนวทางในการทำข้อสอบ O-NET มากขึ้น และข้อค้นพบที่เป็นวิธีปฏิบัติที่ดีหลังเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ของครู พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ทำให้นักเรียนเข้าถึงเนื้อหาในการเรียนและได้ลงมือปฏิบัติจริง และทำให้นักเรียนสนใจเรียนและมีความรู้ที่คงทนมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
under process
References
ภาษาไทย
อรอุมา บุญคง และเมธี วิสาพรม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในสถานศึกษากลุ่มเมืองสวนสมเด็จ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(36), 214-224.
ปวีณา แย้มใส. (2564). การประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรม, 1(2), 29-41.
ปัณฑิตา อินทรักษา. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning เพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(1), 35-43.
สุรเดช จิรัฐิติวิชาไชย, ไพรภ รัตนชูวงศ์ และประเวศ เวชชะ. (2559). การบริหารจัดการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่แอบวิทยาคม. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 1(2), 55-65.
ฉัตรแก้ว ใจงาม, จิตชิน จิตติสุขพงษ์, สุดารัตน์ เจตน์ปัญจภัค และกนกวรรณ กุลสุทธิ์. (2563). การพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อยกระดับผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(5), 1777-1789.
จำเริญ จิตรหลัง. (2562). กลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
บุณยานุช เฉวียงหงส์ และเนติ เฉลยวาเรศ. (2565). การเปลี่ยนแปลงของผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดลพบุรีและอ่างทอง.วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(8).
สำเริง บุญโต, รวิชญุฒม์ ทองแม้น และชัยสิทธิ์ คุณสวัสดิ์ (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเพิ่มผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ปีการศึกษา 2563. JOURNAL OF SOCIAL SCIENCE FOR LOCAL RAJABHAT MAHASARAKHAM UNIVERSITY, 6(1), 35-44.
ภาษาอังกฤษ
Fredricks, J. A., Blumenfeld, P. C., & Paris, A. H. (2004). School Engagement: Potential of the Concept, State of the Evidence. Review of Educational Research, 74(1), 59-109.