การศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงาน ด้วยระบบดิจิทัล

Main Article Content

พัฒนา ธนากร
พีรวัฒน์ กาซาว
กาญจนา แจ่มชื่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงาน (TEC-W) ในด้านการจัดการทดสอบด้วยระบบดิจิทัลและการบริหารการจัดการทดสอบ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้เข้ารับการทดสอบ TEC-W เมื่อวันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2566 จำนวน 510 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับที่ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ผู้เข้ารับการทดสอบตอบแบบสอบถามหลังจากการทดสอบแล้วเสร็จ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมซึ่งเป็นข้อคำถามปลายเปิด


ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้ารับการทดสอบมีความพึงพอใจต่อการทดสอบด้วยระบบดิจิทัลภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.88) โดยพบว่าผู้เข้าสอบพึงพอใจต่อความสะดวกรวดเร็วในการใส่คำตอบหรือเลือกคำตอบบนหน้าจอมากที่สุด (M=4.00) รองลงมา คือ สัญญาณอินเทอร์เน็ตที่สนามสอบมีความรวดเร็ว (M=3.99) และระบบทดสอบมีความสะดวก รวมทั้งรูปแบบและขนาดของตัวอักษรที่ใช้ในระบบมีความเหมาะสม ทั้งสองข้อมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน (M=3.94) และผู้เข้ารับการทดสอบมีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ การแก้ไขคำตอบกรณีที่เลือกคำตอบผิด (M=3.61) ส่วนด้านการบริหารการจัดสอบผู้เข้าสอบมีความพึงพอใจรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.84) โดยพบว่าผู้เข้าสอบพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบการสอบของกรรมการคุมสอบมากที่สุด
(M=4.12) รองลงมา คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบมีความสะดวกต่อการใช้งาน (M=3.97) และสถานที่ที่ใช้เป็นสนามสอบสะดวกต่อการเดินทาง (M=3.83) และผู้เข้ารับการทดสอบพึงพอใจต่อช่องทางการชำระเงินน้อยที่สุด (M=3.42) ในภาพรวมของการสำรวจความพึงพอใจพบว่าผู้เข้ารับการทดสอบมีความพึงพอใจในระดับมากในทุกประเด็น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Jana Jaskava. 2021. Digital Testing During the Pandamic Crisis: University Students’ Opinions on Computer-based Tests. Internal Journal for Innovation Education and Research. 9(01): 36-53.

กัญญา กรีประเสริฐกุล. (2565). ข้อเสนอโครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาหาแนวทางการพัฒนาระบบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติแบบดิจิทัลของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). เอกสารโครงการสนับสนุนภารกิจด้านการวิจัยของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

พัชราภรณ์ ดวงชื่น อภินันต์ อันทวีสิน และ วรนุช ตรีวิจิตรเกษม. 2564. การบริหารหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานของสหภาพยุโรปของนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดโรงเรียนเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปะการจัดการ. 5(1), 118-133.

พัฒนา พรหมณี ยุพิน พิทยาวัฒนชัย และ จีระศักดิ์ ทัพผา. 2563. แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 26(1), 59-66.

รุ่งฤดี กล้าหาญ. 2559. การประเมินมาตรฐานการบริหารการทดสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประจำปีการศึกษา 2557: กรณีศูนย์สอบมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. (ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ). 9(3), 780-797.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). 2565. รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). https://www.niets.or.th/th/content/view/25539

สุนันทา เลาหนันท์. 2551. การสร้างทีมงาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: แฮนด์เมดสติกเกอร์แอนด์ดีไซน์.