การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครู ระดับประถมศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กลุ่มแฝงของครูระดับประถมศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการประเมินเพื่อการเรียนรู้จำแนกตามกลุ่มแฝงของครูระดับประถมศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ และ 3) ประเมินสมรรถนะการประเมินเพื่อการเรียนรู้จำแนกตามกลุ่มแฝงของครูระดับประถมศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 จำนวน 600 คน ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 1 ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการประเมินเพื่อการเรียนรู้ แบบทดสอบเชิงสถานการณ์เพื่อวัดสมรรถนะการประเมินเพื่อการเรียนรู้ และแบบวัดผลกระทบจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ วิเคราะห์ด้วยร้อยละ การวิเคราะห์กลุ่มแฝง (Latent class analysis) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนี PNI แบบปรับปรุง และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มแฝงครูระดับประถมศึกษาในภาคเหนือตอนล่างที่ได้รับผลกระทบจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติทั้งทางบวก และทางลบระดับต่ำ (ร้อยละ 37) กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติทั้งทางบวกและทางลบระดับปานกลาง (ร้อยละ 11) และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติทั้งทางบวกและทางลบระดับสูง (ร้อยละ 52)
2. ครูกลุ่มแฝงที่ 2 มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการประเมินเพื่อการเรียนรู้สูงสุด รองลงมาเป็นครูกลุ่มแฝงที่ 1 และครูกลุ่มแฝงที่ 3 ตามลำดับ
3. ผลการประเมินสมรรถนะการประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครู พบว่า ครูกลุ่มแฝงที่ 1 มีค่าเฉลี่ย
T-score สมรรถนะการประเมินเพื่อการเรียนรู้ในภาพรวมและสมรรถนะการประเมินเพื่อการเรียนรู้ด้านการใช้ผลการประเมินผลการเรียนรู้ต่ำกว่าครูกลุ่มแฝงที่ 2 และครูกลุ่มแฝงที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่า ครูกลุ่มแฝงที่ 1 มีค่าเฉลี่ย T-score สมรรถนะการประเมินเพื่อการเรียนรู้ด้านการบูรณาการการเรียนรู้และการประเมินต่ำกว่าครูกลุ่มแฝงที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นไม่พบความแตกต่าง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
under process
References
ญาณิกา ลุนราศรี. (2557). ผลกระทบของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติที่มีต่อการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษตามการรับรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. OJED, 9(4), 226-240.
ปาริฉัตร ปิติสุทธิ. (2558). ผลการสอบระดับชาติที่มีต่อครูและนักเรียน: การวิเคราะห์ปรากฏการณ์
วอชแบค. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันดี สมมิตร. (2552). ผลกระทบของการสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานที่มีต่อพฤติกรรมการสอนของครูในเขตกรุงเทพมหานคร: การวิจัยแบบผสม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรัญญา จันทร์ชูสกุล. (2561). “แนวคิด หลักการ และยุทธวิธีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ Concepts, Principles and Strategies of Assessment for Learning”. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(1), 14-28.
Ahmad, S., & Rao, C. (2012). Examination Washback Effect: Syllabus, Teaching Methodology and the Learners’ Communicative Competence. Journal of Education and Practice, 3(15), 173-183.
Au, W. (2011). Teaching under the new Taylorism: High stakes testing and the standardization of the 21st century curriculum. Journal of Curriculum Studies, 43(1), 25-45.
Chiekem, E. (2014). Teachers perception of washback effect of high-stakes tests on post
university tertiary matriculation examination in Delta State University, Abraka, Delta
State. Journal of Education and Policy Review, 6(1), 18-25.
Ghorbani, M. R., & Neissari, M. (2015). Washback Effect of the Iranian Concours on Senior High School Students' EFL Learning Activities. Iranian Journal of Language Testing,
(1), 1-28.
Glover, P. (2014). Do language examinations influence how teachers teach. International
Online Journal of Education and Teaching, 1(3), 197-214.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis(7 ed.). NJ: Pearson Prentice Hall.
Kennedy, S., & Lui, R. (2013). Washback of a high-stakes English test in China: Student and
teacher perceptions. Concordia Working Papers in Applied Linguistics, 4, 22-29.
Madaus, G. F. (1988). The distortion of teaching and testing: High stakes testing and
instruction. Peabody Journal of Education, 65(3), 29-46.
Pan, Y. C. (2009). A review of washback and its pedagogical implications. VNU Journal of Science, Foreign Languages, 25, 257-263.
Muñoz, A. P., & Álvarez, M. E. (2010). Washback of an oral assessment system in the EFL
classroom. Language testing, 27(1), 33-49.
Polesel, J., Rice, S., & Dulfer, N. (2014). The impact of high-stakes testing on curriculum and
pedagogy: a teacher perspective from Australia. Journal of Education Policy, 29(5),
-657.
Wilson, A. T. (2009). Assessment-based instruction applied to a course and lab in digital signal processing. In ASEE Southeast Section Conference, USA.
Yu, W., & Jie, B. (2013). Washback Effect on Second Language Acquisition Test: A Case Study of College English Entrance Exam. In The International Academic Workshop on Social Science (IAW-SC 2013), AMS.