บทบาทผู้นำสตรีจิตอาสากับการเสริมสร้างชุมชนสันติสุข: กรณีศึกษาตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอการถอดบทเรียนบทบาทของผู้นำสตรีจิตอาสาตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ในการเสริมสร้างชุมชนสันติสุข ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำท้องถิ่นตำบลสวายทีไม่ใช่สตรี จำนวน ๑๐ คน และกลุ่มผู้นำท้องถิ่นที่เป็นสตรี จำนวน ๒๐ คน รวม ๓๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยอุปนัยวิธี ผลกาวิจัยพบว่าสตรีจิตอาสาตำบลสวาย เริ่มจากการรวมกลุ่มที่หลากหลายในตำแหน่งหน้าที่ ถ้อยทีถ้อยอาศัยให้เกียรติกัน สร้างความรู้ พัฒนาสาธารณะสุข สร้างความเข้มแข็งเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว และชุมชน ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ คือ การเสียสละแรงกาย แรงใจ การใช้ปัญญาเพื่อช่วยเหลือให้ผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ เกิดความสามัคคี โดยมีเป้าหมาย ดังนี้คือ ๑) ให้ความรู้ สร้างทักษะ ช่วยเหลือแบ่งปันเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทน ๒) ลดปัญหาความขัดแย้ง ให้ความเคารพกันซึ่งกัน ๓) ทำงานเพื่อส่วนรวม ทำด้วยความเต็มใจ ๔) มีกิจกรรมจิตอาสาช่วยเหลืออย่างสม่ำเสมอ ร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
จิตรา แสงวัฒนาฤกษ์ และคณะ “กระบวนการพัฒนาผู้นำสตรีด้านจิตอาสาเพื่อดูแลผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพิง ศึกษากรณีตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ” วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๓ (พฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๖๓): ๘๙๗-๙๑๐.
ชญากนก จันทะฟอง, “บทบาทผู้นำสตรีทางการเมืองในภาคอีสาน”, วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๕ (กันยายน-ตุลาคม ๒๕๖๕): ๗๔-๘๖.
ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์, “การพัฒนารูปแบบเชิงสาเหตุจิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา (บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐).
ธัญญธร บุญอภัย และคณะ, “สตรีในการพัฒนาสังคม”, วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๒ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๓): ๒๙๑-๓๐๑.
อรุณี กาสยานนท์, “สตรีกับการพัฒนามนุษย์ในบริบทโลก”, เอกสารการสอนชุดวิชา การพัฒนามนุษย์ในบริบทโลก หน่วยที่ ๖, (พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, ๒๕๔๖), หน้า ๓๕.