บทวิจารณ์หนังสือ: รวมพระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี
Main Article Content
บทคัดย่อ
หนังสือ “รวมพระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)” มีเนื้อหา ๓ ส่วน ได้แก่ ๑) อัตชีวประวัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ๒) พระธรรมเทศนา ๖๗ กัณฑ์ ๓) โอวาทของหลวงพ่อวัดปากน้ำในวาระโอกาสต่าง ๆ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำจำนวน ๖๗ กัณฑ์ แต่ละกัณฑ์ประกอบด้วยเนื้อหา ๓ ส่วน ได้แก่ ๑) บทตั้ง คือ พระบาลีจากพระพุทธพจน์ พระไตรปิฎก พระสูตร ฯลฯ ๒) อธิบายบทบาลี คือ คำแปลและคำอธิบายพระบาลีอันเป็นบทตั้งนั้น เป็นการอธิบายโดยนัยแห่งปริยัติ ๓) บรรยายธรรมะ คือ ธรรมะทั้งภาคปฏิบัติอันเป็นแนวทางการเจริญสมาธิภาวนาตามที่ท่านฝึกฝนมา และภาคปฏิเวธอันเป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติ เป็นประสบการณ์จากการเจริญภาวนาที่เกิดกับตัวท่านเอง
หนังสือ “รวมพระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)” ผู้วิจารณ์นำเสนอจุดเด่นเป็นคุณค่า ๓ ประการ ได้แก่ ๑) คุณค่าต่อการศึกษาด้านปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ๒) คุณค่าแห่งประสบการณ์จากธรรมะภาคปฏิบัติ ๓) คุณค่าต่อการศึกษาด้านวิชาการพระพุทธศาสนา และนำเสนอทัศนะของผู้วิจารณ์ คือ ประเด็นที่ควรพิจารณาควบคู่ไปด้วยกับอ่านหนังสือเล่มนี้เพื่อ “การศึกษาปฏิเวธธรรมเชิงวิชาการอย่างสร้างสรรค์” มี ๓ ประเด็น ได้แก่ ๑) ประเด็นเรื่องประเภทของพุทธธรรม ๒) ประเด็นเรื่องการศึกษาปฏิเวธธรรม และ ๓) ประเด็นเรื่องแนวทางการศึกษาปริยัติธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
คณะศิษยานุศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ. รวมพระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร). กรุงเทพฯ: เอกพิมพ์ไทย, ๒๕๕๕.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วรรณกรรมพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๕.
ไชย ณ พล. พระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน. กรุงเทพฯ: พลัสเพรส, ม.ป.ป.
พระคัมภีร์ทีปวงศ์ : ตำนานว่าด้วยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป. พิมพ์ครั้งที่ ๒. แปลโดย ปุ้ย แสงฉาย. กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรส โพรดักส์, ๒๕๕๗.
พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว). พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ. กรุงเทพฯ: นฤมิต โซล (เพรส) จำกัด, ๒๕๔๖.
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร). มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง, ๒๕๓๙.
พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย, “รูปแบบการพัฒนาจิตของสำนักกรรมฐานในสังคมไทย” วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.
พระมหาสมชัย กุสลจิตฺโต. พุทธศาสนา: นิกายสรวาสติวาท. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). นิพพานกถา. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๕๔.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). พรหมวิหาร. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๕๕.
ไพรัตน์ แย้มโกสุม (๑๖ เมษายน ๒๕๕๘). “ประวัติศาสตร์”. MGR Online. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://mgronline.com/daily/detail/9580000043678 [๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗].
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (แปล) เล่ม ๑–๔๕. นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๑–๙๑. นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ เล่ม ๑–๔๕. นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
วริยา ชินวรรโณ และคณะ. สมาธิในพระไตรปิฎก วิวัฒนาการการตีความคำสอนเรื่องสมาธิในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓.
วโรพร. ตามรอยพระมงคลเทพมุนี. กรุงเทพฯ: ฟองทองเอนเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๓.
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำฯ. ประวัติหลวงพ่อวัดปากน้ำและคู่มือสมภาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๙.
สมเด็จพระวันรัตน. สังคีติยวงศ์ พงศาวดาร เรื่องสังคายนาพระธรรมวินัย. แปลโดย พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาลลักษมณ). พระนคร: ไท, ๒๔๖๖.
สุจิตต์ วงษ์เทศ (๒๖ มีนาคม ๒๕๖๑). “สุจิตต์ วงษ์เทศ : เรียนรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน สร้างสรรค์อนาคต”. Matichon Online. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_891675 [๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗].
เสถียร โพธินันทะ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.