กระบวนการพึ่งพาตนเองด้วยอารยเกษตรของเกษตรต้นแบบ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ตามหลักพุทธสันติวิธี บทคัดย่อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบริบท ปัญหา สาเหตุ อุปสรรค และวิถีการดำเนินชีวิตการทำอารยเกษตรของเกษตรต้นแบบ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ๒) เพื่อนำเสนอถอดบทเรียนกระบวนการอารยเกษตรต้นแบบเพี่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนตามหลักพุทธสันติวิธี ดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบภาคสนามเครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม (๑) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านอารยเกษตร (โคกหนองนา) ๓ ท่าน (๒) กลุ่มอารยเกษตร ๕ ท่าน (๓) กลุ่มผู้นำชุมชน ๕ ท่าน (๔) กลุ่มเครือข่ายเกษตรกร ๕ ท่าน รวมผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๘ ท่าน วิเคราะห์ด้วยวิธีอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า
(๑) ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แห้งแล้ง มีลักษณะเป็นดินภูเขา เป็นพื้นที่ราบเชิงเขาเป็นเนิน ปัญหาจะขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรทำให้ไม่สามารถสร้างผลผลิตได้ ต้องเร่งดินเร่งปุ๋ย ลงทุนเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้ดินเสื่อมสภาพเร็ว อีกทั้งยังนิยมทำเกษตรเชิงเดี่ยว และไม่ได้ทำบัญชีรายรับรายจ่าย สาเหตุเพราะขาดความรู้ความเข้าใจ
(๒) หลักพุทธสันติวิธีในการพึ่งพาตนเองตามหลักอารยเกษตร ได้แก่ หลักอริยสัจ ๔ คือ การมองเห็นปัญญา (ทุกข์) การหาเหตุปัญหานั้นด้วยวิเคราะห์พิจารณาด้วยปัญญา (สมุทัย) การวางจุดหมายที่จะพัฒนาหรือปรับปรุง (นิโรธ) การลงมือทำตามแนวทางที่ได้ศึกษาที่เป็นเป้าหมายในชีวิตจริง (มรรค) ด้วยความตั้งใจจนกว่าสำเร็จ ด้วยหลักอิทธิบาท คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ความสำเร็จ ต้องเริ่มจาก (๑) การมองเห็นปัญหาและมีความคิดอยากแก้ปัญหานั้น (๒) การรู้จักวิเคราะห์อะไรคือสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงของเกษตรกร ต้นทุนสูง (จากหลายปัจจัย) ราคาผลผลิตไม่แน่นอน (๓) รู้ถึงเป้าหมายของการแก้ปัญหาที่รากเหตุสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน (๔) การรู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา สามารถแก้ปัญหาการทำเกษตรได้จากการลงมือปฏิบัติจนเป็นผลสำเร็จ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
ณิชิชาพัฒน์ เพิ่มทองอินทร์. จากศาสตร์พระราชา สู่โคก หนอง นา “อารยเกษตร” ไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AFDCJournal/article/view/249913/168323, [๒ กันยายน ๒๕๖๖].
พระปลัดสําราญ ฐานธมฺโม.พระมหาวีระศักดิ์ อภินนฺทเวที. และพระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ. (๒๕๖๕). “รูปแบบเกษตรอินทรีย์วิถีโคกหนองนาโมเดล:รูปแบบชุมชนสันติสุขของบ้านถ้ำโกบ ตําบลหน้าเขา อําเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่” วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕).
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ. ศักดิ์ชัย สักกะบูชา. และนาฏนภางค์ โพธิ์ไพจิตร. (๒๕๖๕). “แนวคิดโคกหนองนาโมเดลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”. วารสารศิลปะการจัดการ. ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑, (มกราคม-มีนาคม, ๒๕๖๕).
สมปอง สุวรรณภูมา. (๒๕๖๔). “การพัฒนาชุมชนตามทฤษฎีใหม่โคกหนองนาโมเดล”. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๔).
สัมภาษณ์ คุณวิมล รัตนา. เกษตรอำเภอพนมดงรัก, ๑๗ มกราคม ๒๕๖๗.
สัมภาษณ์ จ.ส.ต ธวัชชัย รัตนสงคราม. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก, ๑๘ มกราคม ๒๕๖๗.
อภินันท์ จันตะนี และชมพูนุช ช้างเจริญ. (๒๕๖๓). “พระพุทธศาสนากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๓).