รูปแบบการพัฒนาความกรุณาต่อตนเองในการเผชิญวิกฤติของผู้ประกอบการ Development Model of Self–Compassion in Resilience Quotient of Entrepreneurs

Main Article Content

Phuthththida Makphun
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและเสนอรูปแบบการพัฒนาความกรุณาต่อตนเองในการเผชิญวิกฤติของผู้ประกอบการ เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการผ่านพ้นวิกฤติและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๗ รูป/คน และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ๗ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ๑. แนวคิดความกรุณาต่อตนเองตามแนวจิตวิทยา ๙ องค์ประกอบ คือ ความอารีต่อตนเอง ตระหนักในความธรรมดาของมนุษย์ การมีสติ การเชื่อมตนกับสังคม การให้อภัย การยอมรับ ความอ่อนโยน ความสุขุมและความสัมพันธ์กับผู้อื่น ความกรุณาต่อตนเองตามหลักพระพุทธศาสนา ๕ องค์ประกอบ คือ ความสามารถในการเข้าใจตนเองและผู้อื่นทางกายและวาจา การมีทัศนคติและกระบวนการคิดที่ถูกต้อง การคิดพินิจพิจารณาที่ถูกต้อง การมีมิตรดีและการมีสติระลึกรู้ ๒. องค์ประกอบความกรุณาต่อตนเองจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ๓ องค์ประกอบ คือ ความอารีต่อตนเอง  ตระหนักในธรรมดาของคนและการมีสติ และจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการมี ๔ องค์ประกอบ คือ การเข้าใจและยอมรับทุกข์ตามความเป็นจริง ความอารีต่อตนเอง การมีสติในปัจจุบันและความมีกัลยาณมิตร และ ๓. รูปแบบการพัฒนาความกรุณาต่อตนเองในการเผชิญวิกฤติของผู้ประกอบการ(5C : 5 Power of Compassion Model) ได้แก่ ความอารีต่อตนเอง การมีสติในปัจจุบันขณะ ความตระหนักในธรรมดาของมนุษย์ กระบวนการคิด โยนิโสมนสิการ และความมีกัลยาณมิตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ และคณะ. “รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและจิตวิทยาเชิงบวกที่มีต่อสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธของครอบครัวในชุมชนอาคารสูง เขตกรุงเทพมหานคร”. รายงานวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.

เกษม บุญอ่อน. “เดลฟาย: เทคนิคการวิจัย”. คุรุปริทัศน์, ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑๐ (ตุลาคม ๒๕๒๒): ๒๖-๒๘.

ชมพูนุช ศรีจันทร์นิล. “การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ: ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับการวิจัยทางด้านจิตวิทยา”. วารสารศึกษาศาสตร์. ปีที่ ๒๘ ฉบับที่ ๓ (กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๐): ๑-๑๓.

พรพรรณ ปัญญาภิรมย์. KKP ประเมิน “ภาคการท่องเที่ยว” ยังไม่ฟื้นหลังปลดล็อก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://forbesthailand.com/news/finance-and-investment/kkp-ประเมิน-ภาคการท่องเที่ยว.html [๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๕].

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ธรรมสภา.๒๕๔๔.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). คติธรรมแห่งชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๕๑.

พิณนภา แสงสาคร. “การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทางจิตวิญญาณในบริบทของสังคมไทย”. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๑ (๒๕๕๕): ๘๔-๙๔.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

ศิริชัย กาญจนวาสี. สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒.

สมประวิณ มันประเสริฐ. Mission Tonight: ผลกระทบของ Covid-๑๙ ต่อเศรษฐกิจไทยและคนทำธุรกิจ SME. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.krungsri.com/th/ plearn-plearn/covid19-newnormal-with-sme [๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๕].

โสรีช์ โพธิ์แก้ว. “การประยุกต์อริยสัจ ๔ ของพระพุทธศาสนากับการปรึกษาเชิงจิตวิทยา และจิตรักษา”. รายงานวิจัย. คณะจิตวิทยา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

Dilwar, & Bhushan, Braj. “Psychology of Meditation and Health: Present Status and Future Directions”. International Journal of Psychology and Psychological Therapy. Vol. 10 No. 3 (2010): 439-451.

Kabat-Zinn, J. “Mindfulness-based Interventions in Context: Past, Present, and Future”. Clinical Psychology: Science and Practice. Vol. 10 No. 2 (2003): 144-156.

Kristin D. Neff et al. “Self-compassion and Its Link to Adaptive Psychological Functioning”. Journal of Research in Personality. Vol. 41 (2007): 139-154.

Lane, James D. et al. “Brief Meditation Training Can Improve Perceived Stress and Negative Mood”. Alternative Therapies in Health and Medicine. Vol. 13 No. 1 (2007): 38-43.

Marketeeronline. เศรษฐกิจปี ๖๓ จะเป็นอย่างไรในภาคการท่องเที่ยว จ้างงาน ครัวเรือน และส่งออก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://marketeeronline.co/ archives/169173 [๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๕].