การพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์และช่องทางจำหน่ายสินค้าสัมมาชีพตามแนวพุทธจากยางรถยนต์รีไซเคิล

Main Article Content

กรรณิการ์ ขาวเงิน
ชัยณรงค์ ขาวเงิน
กนกอร ก้านน้อย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ข้อ คือ ๑) เพื่อพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับสินค้าสัมมาชีพตามแนวพุทธจากยางรถยนต์รีไซเคิล และ ๒) เพื่อพัฒนาช่องทางจำหน่ายสินค้าสัมมาชีพตามแนวพุทธจากยางรถยนต์รีไซเคิล เป็นการวิจัยและพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๗ คน และอาสาสมัครเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์และช่องทางจำหน่ายสินค้า จำนวน ๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เป็นคำถามปลายเปิด (Open ended questions) และชุดกิจกรรมการพัฒนาสื่อและพัฒนาช่องทางจำหน่ายสินค้า ผลการวิจัยพบว่า ๑) การพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบวิดีโอคลิปโดยใช้โปรแกรมแคนวา มี ๖ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑ ใช้บัญชีของตนเองลงชื่อเข้าใช้งาน Canva ขั้นตอนที่ ๒ การเลือกแม่แบบ (Template) ขั้นตอนที่ ๓ การใช้ฟีเจอร์ต่างๆ จากหน้าต่างด้ายซ้ายของ Canva ขั้นตอนที่ ๔ การใส่ Sub Title ขั้นตอนที่ ๕ การปรับแต่งวิดีโอ และขั้นตอนที่ ๖ บันทึกแล้วแชร์คลิป จำนวนคลิปที่พัฒนามีจำนวน ๕ คลิป ประกอบด้วย EP1: Diy ขายดี EP2: เล่นอย่างมันส์ EP3: นั่งยางเฟอร์นิเจอร์ EP4: มาทำสวนยาง EP5: มียาง ไม่อาย ไม่จน และ ๒) การพัฒนาช่องทางจำหน่ายสินค้า มี ๒ ช่องทางคือ เฟซบุ๊กและติ๊กต็อก เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าสัมมาชีพวิถีพุทธ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, คู่มือหน่วยงานท้องถิ่น:การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะ, (กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 2538), หน้า 101.

กาญจนา แก้วเทพ, จิตสำนึกของชาวนา:ทฤษฎีและแนวการวิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์การเมือง, กรุงเทพมหานคร: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. หน้า1

จอมจันทร์ นทีวัฒนา และวิชัย เทียนถาวร, ความรู้และทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลดขยะชุมชนแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 (มีนาคม -เมษายน 2560), หน้า 316 - 330.

ชัชชัย ศิลปะสุนทร, ความสัมพันธ์ระหว่างการชมรายการโทรทัศน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมกับจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชาตรี อุ่นใจ และคณะ, รูปแบบการจัดการขยะโดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในเขตบริการโรงเรียนบ้านนาหนุน 1 อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน, รายงานวิจัย, (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2549).

ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา, ยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่มของการคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิลเชิงธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการและชุมชนในเขตจังหวัดภาคกลางของประเทศไทย, รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2553.

ณัฐพงษ์ ประดิษฐ์ผล, การนำหลักการ 5 Rs ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการขยะของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลป่าก่อดำ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย, วิทยานิพนธ์ (สำนักวิทยบริการฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2555).

ดวงใจ ปานตามูล, การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ในองค์การบริหารส่วนตําบลบ้านโสก อําเภอหล่มสัก เพชรบูรณ์, ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (2556), หน้า 16 - 24.

ทวิช ยะปะนันท์, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการสร้างรูปแบบการจัดการขยะของเทศบาลตำบลสอง อำเภอสอง จังหวัดแพร่, วิทยานิพนธ์, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา, 2555)

ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์, จิตสำนึกคุณภาพสร้างได้จริงใน 120 วัน, (กรุงเทพมหานคร: Think Beyond. หน้า33.

ธนันธร มหาพรประจักษ์, Circular economy ทางออกของปัญหาสิ่งแวดล้อม, ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธเรส ศรีสถิต และคณะ, คู่มือการจัดการขยะและเทคโนโลยีการแปลรูปขยะให้เป็นพลังงานสำหรับท้องถิ่น, (กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2554), หน้า2.

ธัญภรณ์ วงศ์อกนิฏฐ์, จิตสำนึกของมัคคุเทศก์ต่อการนำเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในระบบนิเวศแนวปะการัง, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธีรวรรณ บุญโทแสง, สุรัสวดี นางแล, ธัญวรัชญ์ บุตรสาร, นิติมา พรหมมารัตน์ และ ธนายุทธ ช่างเรือนงาม, ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะ ของชาวบ้านในหมู่บ้านนางแลใน ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย, วารสารการวิจัยกาสะลองคํา, ปีที่ 11 ฉบับพิเศษที่ 3 (2560) หน้า 370 - 378.

นพวรรณ ธีระพันธ์เจริญ, 2550 ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม, พระนครศรีอยุธยา:มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา, หน้า 142.

นวรินทร์ ตาก้อนทอง, จิตสาธารณะ : คุณลักษณะของเด็กไทยที่พึงประสงค์, [ออนไลน์]แหล่งที่มา http://learners.in.th/blog/krujo2007/390763, [30 มีนาคม 2563].

นิภา ดอกพิกุล, การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอย: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2548).

พลโท ประสารโชค ธุวะนุติ และ วิภวานี เผือกบัวขาว, แนวทางการบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์, วารสารเกษมบัณฑิต, ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561), หน้า 141 - 149.

ภาษาอังกฤษ

Brueck, S., M. Kousis., D. Richardson., and S. Young, The politics of sustainable development: Theory, policies, and Practices within the European union, (Great Britain:Creative print and Design, 1977).

Carolina Armijo de Vega, Sara Ojeda-Benitez and Ma. Elizabeth Ramirez-Barreto (2003). Mexican educational institutions and waste Management programmes a Universitcase study. Resources, Conservation and Recycling Vol. 39, Issue 3. October. p. 283-296.

Grace P. Sapuay, Sustainable Solid Waste Management and Sustainable Development in the Philippines, Proceedings, The International Conference in Urban and Regional Planning, (2018), pp.1-11.

Hafs Bello, “Impact of Changing Lifestyle on Municipal Solid Waste Generation in Residential Areas: Case Study of Qatar”, International Journal of Waste Resources, Vol 8 No 2 (2018), pp. 1 – 7.

J.O. Prochaska and J. Norcross, Systems of Psychotherapy: A Trans. Theoretical Analysis Pacific Grove, (C.A.: Brooks Cole Pub), p. 5.

Jamie Baxter, Yvonne Ho, Yvonne Rollins and Virginia Maclaren, Attitudes toward waste to energy facilities and impacts on diversion in Ontario, Canada, Waste Management, Vol 50, (April 2016), pp. 75-85.

Nancy E. Schwartz , อ้างใน อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท, การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. (กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554) หน้า 39-41.

Sari Piippo, Municipal solid waste management in Finland, (Oulu: Uniprint, 2013).

Vaishali Gupta, Sushma Goel and T. G. Rupa, Good governance and solid waste management: An overview of legislative regulations in India,

P.Hari Prasad, Study of Muncipal Solid Waste Management Scenario of Kadapa City,

Qingbin Song, Jinhui Li, Xianlai Zeng, Minimizing the increasing solid waste through zero waste strategy,

Olabode Emmanuel Ogunmakinde, A Review of Circular Economy Development Modelsin China, Germany and Japan, Recycling, Vol 4 No 27 (2019), pp. 1–14.

Patrick Schroeder, Kartika Anggraeni and Uwe Weber, “The Relevance of Circular Economy Practices to the Sustainable Development Goals, Journal of Industrial Ecology, Vol 23 No 1 (2018), pp. 77-95.

Patrizia Ghisellini, Catia Cialani and Sergio Ulgiati, A review on circular economy: the expected transition to a balanced interplay of environmental and economic systems, Journal of Cleaner Production, Vol 114, (February 2016), pp. 11-32.

Nicky Gregson, Mike Crang, Sara Fuller & Helen Holmes, Interrogating the Circular Economy: the Moral Economy of Resource Recovery in the EU., Economy and Society, Vol 44 No 2 (April 2015), pp. 1-34.