A การศึกษาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนสนใจการปฏิบัติธรรม ของกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องการศึกษาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนสนใจการปฏิบัติธรรมของกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนสนใจการปฏิบัติธรรมของกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานในมหาวิทยาลัย ๕ แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดและมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ๒) เสนอแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนสนใจในการปฏิบัติธรรม ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนสนใจการปฏิบัติธรรมของกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานมีดังนี้ ๑) ความเชื่อในหลักคำสอนทางพุทธศาสนามีส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้เยาวชนสนใจการปฏิบัติธรรม เช่น ความเชื่อเรื่องเหตุและผล เรื่องกรรมและผลของกรรม เรื่องการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญา และเพื่อทำให้ถึงซึ่งความพ้นจากทุกข์ คือ พระนิพพาน ๒) กัลยาณมิตรมีส่วนช่วยทำให้สนใจการปฏิบัติธรรม เช่น บิดามารดา ญาติ เป็นแบบอย่างและชักชวนให้ได้ปฏิบัติธรรมตั้งแต่เด็ก เช่น การทำบุญ การไปวัด การฟังธรรม เป็นการสั่งสมอุปนิสัยให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสต่อพระสงฆ์ อีกทั้งพระสงฆ์ยังเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติธรรมแก่เยาวชน เช่น การปฏิบัติตามแนวทางปฏิปทาพระป่าสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นต้น ๓) การจัดโครงการปฏิบัติธรรมที่น่าสนใจ เช่น โครงการธรรมะสัญจร, ค่ายสมาธิภาวนา, การบวชพระวัดป่าสายกรรมฐาน เพื่อให้เกิดความสนใจและมีส่วนทำให้เยาวชนร่วมกิจกรรมมากยิ่งขึ้น แนวทางพัฒนาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนสนใจการปฏิบัติธรรม มีดังนี้ ๑) พัฒนาความเป็นผู้นำทางธรรม คือ การพัฒนาตนเองให้พร้อมอยู่เสมอทั้งด้านความรู้ทางธรรมและเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติธรรม ๒) พัฒนาการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานให้แก่ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสได้รับทราบกิจกรรมที่จัดของกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานให้มากยิ่งขึ้น ๓) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมจากเดิมให้น่าสนใจ เช่น การปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับผู้สนใจตามยุคสมัย ๔) พัฒนาวิธีการสอนและการเผยแผ่การปฏิบัติธรรม เช่น การนิมนต์พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ที่แต่ละรูปมีเทคนิคและวิธีการสอนที่แตกต่างกันแต่ยังคงอยู่ในหลักของการปฏิบัติธรรมเพื่อฝึกสติ สมาธิ ให้เกิดปัญญา
คำสำคัญ : เยาวชน, การปฏิบัติธรรม, กลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
ภาษาไทย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ ๑๐ กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนาเพรส จำกัด, ๒๕๕๔.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๓๒ .กรุงเทพมหานคร : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์, ๒๕๖๑.
_____________________________. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓๔ กรุงเทพมหานคร : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์, ๒๕๕๙.
_____________________________.พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย พิมพ์ครั้งที่ ๕๕ กรุงเทพมหานคร : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์, ๒๕๖๕.
หนังสือ
พระมหาบัว ญาณสัมปันโน. ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ. พิมพ์ครั้งที่ ๗. .กรุงเทพมหานคร : ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๕๕.
พระราชวรมุณี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). อินเดียแดนเทวดาและการปฏิบัติธรรม .กรุงเทพมหานคร :จรูญการพิมพ์, ๒๕๓๐.
พุทธทาสภิกขุ. เรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม. พระนคร: หจก.รัตนศิลปการพิมพ์, ๒๕๐๗.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. การวัดด้านจิตพิสัย .กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น, ๒๕๔๓.
วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี. คู่มือการศึกษา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. นครปฐม: มูลนิธิแนบมหานีรานนท์, ๒๕๕๓.
วัชระ งามจิตรเจริญ. พุทธศาสนาเถรวาท. พิมพ์ครั้งที่ ๔. .กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, ๒๕๖๑.
อภิภัสร์ ปาสานะเก. หนังสือโครงการธรรมะสัญจร ครั้งที่ ๑๘. ชมรมพุทธธรรมกรรมฐาน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, ๒๕๖๖.
วิทยานิพนธ์
กุลพิพิทย์ มินตาซอ. “การแสวงหาข่าวสาร ความคาดหวัง และความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของเยาวชนไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๓.
ญาณภัทร ยอดแก้ว. “การพัฒนาโครงการปฏิบัติธรรมเนื่องในวันสำคัญ กรณีศึกษาวัดเอก อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาพุทธศาสนศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๑.
พระครูอนุกูลธรรมวงศ์ (ประยูร วิสารโท). “ศึกษาวิเคราะห์ปมาณิกาในพระพุทธศาสนา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓.
บทความวารสาร
แนบ มหานีรานน์. “ภาวนา.” ปัญญาสาร ๓๙, ฉ.๑๔๔ (๒๕๖๒) หน้า ๖๓.
ประทีป พืชทองหลาง และญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง. “กัลยาณมิตร: เพื่อนแท้บนเส้นทางแห่งอริยมรรค.” วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ๓, ฉ. ๒ (พฤษภาคม – สิงหาคม ๒๕๖๑) หน้า ๑๒๑.
พระครูสุพัฒนกาญจนกิจ. “กัมมัฏฐานสายพุทโธในสังคมไทย.” วารสารพุทธจิตวิทยา ๑, ฉ. ๒(กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๙) หน้า ๔๘.
พระเจริญ วฑฺฒโน (มันจะนา). “แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเยาวชนต้นแบบการตื่นรู้เชิงพุทธบูรณาการ.” วารสารมหาจุฬาวิชาการ ๖, ฉ. ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๒)หน้า ๓๐๙–๓๒๐.
ปราโมช น้อยวัฒน์. “ศรัทธาในพระพุทธศาสนา.” ปัญญาสาร ๓๙, ฉ.๑๔๔ (๒๕๖๒) หน้า ๑๓๘.
มุจลินท์ ม่วงยาน และ ปรวเมศร์ อัศวเรืองพิภพ. “ปัจจัยความสนใจที่มีอิทธิพลต่อการเลือกกิจกรรมเสริมประสบการณ์ต่างประเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี.” วารสารวิทยาการจัดการ ๕ (๒๕๖๑) หน้า ๑๑๑.
ยุทธนา พูนเกิดมะเริง. พระสิทธิศักดิ์ พรมสิทธิ์. “กัลยาณมิตรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางพุทธศาสนา.” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ๗, ฉ.๑๐ (ตุลาคม ๒๕๖๓)หน้า ๒๐๑.
สัมภาษณ์
กษิดิศ พูลพุทธา, ธนพัฒน์ หงส์ผาแก้ว และ สันติภาพ จุลพล. ชมรมพุทธธรรมกรรมฐาน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. (๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๖). สัมภาษณ์.
แก้วโกมล ทิพย์มงคล, จิดาภา เนียมโสต และ ศุภกิตติ์ อึ้งเจริญทรัพย์. กลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖). สัมภาษณ์.
จิรวัฒน์ พิมพันธุ์โน, วนิดา ผลจันทร์ และ วิทวัส วงศ์จอม. ชมรมพุทธธรรมกรรมฐานมหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี. (๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖). สัมภาษณ์.
ณุตตรา เอื้ออนันต์ตระกูล, ธนาดล ชุ้นฟ้ง และ ธัชพล อุบลรัตน์. ชมรมพุทธธรรมกรรมฐาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖). สัมภาษณ์.
เดชาวัต สีดามาตย์, บุญธาทิพย์ จัตตุรัต และ วุฒิชัย บุญเกื้อ.ชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖). สัมภาษณ์.
อภิภัสร์ ปาสานะเก. ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษากลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน. (๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖). สัมภาษณ์.
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
วิรวินท์ ศรีโหมด. “โซเชียลมีเดีย สื่อไร้สายมหันตภัยวัยรุ่น.” Post Today. ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙. https://www.posttoday.com/politic/report/430928.