การสร้างเครือข่ายสำหรับส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชนปลอดขยะวิถีพุทธ

Main Article Content

กฤษณา รักษาโฉม
อรชร ไกรจักร์
กรรณิการ์ ตั้งตุลานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ข้อ ๑) เพื่อศึกษาลักษณะของเครือข่ายในชุมชนปลอดขยะ Zero Waste  ๒) เพื่อสร้างเครือข่ายสำหรับส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชนปลอดขยะวิถีพุทธ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๗ คน จากชุมชนปลอดขยะ Zero Waste ๙ ชุมชน พร้อมกับศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องเครือข่าย และดำเนินการสร้างเครือข่ายสำหรับส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชนปลอดขยะวิถีพุทธ ณ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิจัยพบว่า เครือข่ายของชุมชนปลอดขยะ Zero Waste ๙ ชุมชน มี ๔ ลักษณะ คือ ๑) เครือข่ายที่ทำกิจกรรมจัดการขยะร่วมกัน ๒) เครือข่ายที่ให้การสนับสนุนด้านการจัดการขยะ ๓) เครือข่ายที่ให้คำปรึกษาด้านการจัดการขยะ ๔) เครือข่ายที่เเลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ คณะผู้วิจัยได้นำองค์ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของเครือข่ายในชุมชนปลอดขยะ Zero Waste ๙ ชุมชน มาประยุกต์ใช้ในการสร้างเครือข่ายสำหรับส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชนปลอดขยะวิถีพุทธ โดยคณะผู้วิจัยได้ประสานวัดพระงาม วัดขนอน โรงเรียนวัดพระงาม (อรรถกฤษณ์ประชารัฐ) เป็นเครือข่ายกับบ้านมะขามเทศ บ้านป้อม ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถัดจากนั้น บ้าน วัด โรงเรียนดังกล่าวได้ร่วมกันพัฒนาชุมชนให้ปลอดขยะ เช่น การคัดแยกขยะ การจัดการขยะตามหลัก ๓ Rs ดังนั้น บ้านมะขามเทศ บ้านป้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

(๑) หนังสือ

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ. ม.ป.ท., ม.ป.ป..

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) ๒๕๔๗.

(๒) วิทยานิพนธ์

ปสุตา มัทวกาญจน์. “ชุมชนรีไซเคิล: การสร้างเครือข่ายทางสังคมในการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา”. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนามนุษย์และสังคม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ๒๕๖๒.

(๓) บทความ

สมเกียรติ สุทธรัตน์, “การสร้างเครือข่ายสุขภาพในชุมชนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ”, วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ ๒๕ ปี: ๒๑๕.

(๔) สัมภาษณ์

สัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญของ ชุมชนบ้านโป่งศรีนคร ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย, วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๕.

สัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญของชุมชนบ้านดอนกลอย ตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา, วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๕.

สัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญของชุมชนบ้านโนนกล้วยหอม ตำบลบ้านแฮด อำเภอบ้านเเฮด จังหวัดขอนเเก่น, ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕.

สัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญของชุมชนบ้านป่าตึงงาม ตำบลป่าสัก อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน, วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕.

สัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญของชุมชนบ้านรางพลับ ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี, วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๕.

สัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญของชุมชนบ้านหัวถนน ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น, วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๕.

สัมภาษณ์ พระมหาอาทร จิตฺตสุโภ เจ้าอาวาสวัดพระงาม ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๕.

(๕) สื่ออเล็กทรอนิกส์

มติชนออนไลน์, กรมควบคุมมลพิษ (คพ.). เผยปี ๒๕๖๔ ขยะมูลฝอยลดลง ขยะติดเชื้อ-ขยะอันตรายเพิ่มขึ้น. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/ local/quality-life/news_3168455 [๒๑ มีนาคม ๒๕๖๖].

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. ขยะกองเท่าภูเขา เราแก้ไขได้ ด้วยสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านป้อม.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://web.codi.or.th/20190628-6053/[๒๑ มีนาคม ๒๕๖๖].

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ ไทยสร้างขยะมากเป็นอันดับ ๓ ของโลก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.onep. go.th/ [๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖].

อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์. โลกที่ถูกถาโถมด้วย “ขยะ” ปัญหาใหญ่และหมักหมมจนยากจะเยียวยา?. [ออนไลน์].แหล่งที่มา: https://www.salika.co/2022/03/28/ world-of-waste-big-problem/ [ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๖].