การพัฒนารูปแบบเยาวชนจิตอาสาด้วยสื่อสร้างสรรค์ตามแนวพุทธจิตวิทยา การพัฒนารูปแบบเยาวชนจิตอาสาด้วยสื่อสร้างสรรค์ตามแนวพุทธจิตวิทยา

Main Article Content

เรือตรีหญิงจิณห์จุฑา ศุภมงคล รน.

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอผลพัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบเยาวชนจิตอาสาด้วยสื่อสร้างสรรค์ตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธีแบบเชิงทดลอง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา ด้านจิตวิทยา ด้านจิตอาสาและด้านสื่อสร้างสรรค์ จำนวน ๑๗ รูป/คน กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนชั้น ม. ๒-๓ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๓๐ คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน สมุดบันทึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า ๑. คุณลักษณะของจิตอาสาปลูกฝังและส่งเสริมได้โดยบูรณาการหลักไตรสิกขา สังควัตถุ ๔ และโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย ๑) การสร้างรูปแบบผ่านช่องทางออนไลน์ ๒) แนวทางในการสร้างกิจกรรมและการพัฒนาเยาวชนให้รู้จักคิดแบบมององค์รวมและกิจกรรมจิตสำนึกสาธารณะ ๒. ผลการพัฒนารูปแบบผ่านกระบวนการ ประกอบด้วยขั้นที่ ๑ แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน ขั้นที่ ๒ การสร้างรูปแบบ ๒ ระยะ ได้แก่ ระยะจัดอบรมกิจกรรม ๒ วัน และ ระยะโครงการจิตอาสาสื่อสร้างสรรค์ในชุมชน ๓๐ วัน ผลของกระบวนการพัฒนามี ๖ ขั้น ได้แก่ ๑) การเป็นกัลยาณมิตรดี ๒) การรับรู้ความสามารถของตน ๓)  ด้านความเป็นจิตอาสา ๔) การรู้เท่าทันใจ รู้เท่าทันสื่อ ๕) การเสริมสร้างทักษะบนโลกโซเซียล และ ๖) การสร้างเครือข่ายจิตสำนึกดีเพื่อชุมชน ๓. ผลประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมทั้งในภาพรวมและรายด้าน กลุ่มเยาวชนมีพฤติกรรมจิตอาสาตามแนวพุทธจิตวิทยาก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๑


คำสำคัญ: จิตอาสา,  เยาวชน, สื่อสร้างสรรค์, พุทธจิตวิทยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรณานุกรม

หนังสือ

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), พัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย, กรุงเทพมหานคร

ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม, ๒๕๔๖.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์

ครั้งที่ ๓๘, .กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๙.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๘, กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.

บทความ

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ และคณะ, ค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตาม

แนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการของสามเณร, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., ๕(๒),

(๒๕๖๐, พฤษภาคม-สิงหาคม).

กัณฑ์จรี แสวงการ, การศึกษากิจกรรมและจิตลักษณะที่ส่งผลต่อจิตสาธารณของนักศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตภาคใต้ตอนบน”, วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏนครศรีธรรมราช, ๑๐(ฉบับพิเศษ), (๒๕๖๑มิถุนายน-กันยายน).

จิณห์จุฑา ศุภมงคล และกมลาศ ภูวชนาธิพงศ์, การพัฒนาพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์สำหรับ

เยาวชนโดยใช้สื่อตามแนวพุทธจิตวิทยา, วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, ๖(๑),

(๒๕๖๓, มกราคม – มิถุนายน).

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์, สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต (Social Media: Future Media),

วารสารนักบริหาร, ๓๑(๔), (๒๕๕๔, ตุลาคม-ธันวาคม).

พิเชษฐ์ ศรีสุข, จิตสาธารณะ, คืนความยั่งยืนสู่มนุษยชาติ, วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, ๒(๒), (๒๕๕๘, พฤษภาคม - สิงหาคม).

พิไลวรรณ บุญล้น, แรงจูงใจการทำงานจิตอาสาตามหลักพุทธจิตวิทยาของบุคคลหลากหลาย

อาชีพในสังคมไทย, วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, ๗(๑), (๒๕๖๔, มกราคม

– มิถุนายน).

สายน้ำผึ้ง รัตนงาม, อุปถัมภ์ ชมภู, พุทธวิธีการรู้เท่าทันสื่อใหม่สำหรับเยาวชนเขต

กรุงเทพมหานคร, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., ๖(๒), (๒๕๖๑, เมษายน-

มิถุนายน).

รายงานการวิจัย

กมลาศ ภูวชาธิพงศ์ และขันทอง วัฒนะประดิษฐ์, การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างจิตสำนึกด้าน

คุณธรรมตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับเยาวชน, รายงานวิจัย, คณะมนุษยศาสตร์,

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑,

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, โครงการอาสาทำความดี,

[ออนไลน์] แหล่งที่มา: https://dcc.onde.go.th/single-post-project/8/โครงการอาสาทำความดี [๒๐ มีนาคม ๒๕๖๕].