รูปแบบการปฏิบัติปริวาสกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยาของวัดพุทธออเรกอน ในสหรัฐอเมริกา A DEVELOPMENT MODEL TO PRATICE ON PARIVĀSAKAMMA ACCORDING TO BHUDDIST PSYCHOLOGY OF OREGON THAI BUDDHIST TEMPLE

Main Article Content

พระครูวชิรธรรมวิเทศ สิงห์ทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบการปฏิบัติปริวาสกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยาของวัดพุทธออเรกอนในสหรัฐอเมริกา วิธีวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน คำถามการสัมภาษณ์และการเสวนา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  ได้แก่ กรรมการสมัชชาสงฆ์ พระวิปัสสนาจารย์ พระธรรมทูต ฆราวาส ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาและจิตวิทยา สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน ๑๗ รูป/คน  กลุ่มเสวนา จำนวน ๓๐ รูป/คน กลุ่มตัวอย่าง ได้ พระธรรมทูต จำนวน ๒๑๐ รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ศักยภาพการปฏิบัติงานพระธรรมทูตภาพรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่าคะแนนจิตตภาวนาอยู่ในระดับมากที่สุดและความพึงพอใจต่อโครงการปฏิบัติปริวาสกรรมอยู่ในระดับมาก ๒) องค์ประกอบของรูปแบบ ได้แก่ กิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ของโครงการ แรงจูงใจในการตัดสินใจเข้าร่วม แนวทางปฏิบัติที่ดีในการปฏิบัติปริวาสกรรม ผลลัพธ์จากการเข้าร่วมโครงการและแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติ ๓) รูปแบบปฏิบัติปริวาสกรรม ประกอบด้วยด้านพัฒนาคุณสมบัติพระธรรมทูต ด้านพัฒนาพระวิปัสสนาจารย์ ด้านการบริหารจัดการโครงการ และด้านพัฒนาปัจจัยสนับสนุน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (ชูศรี). “รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยา”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ๖(๑) (มกราคม – มีนาคม), ๒๕๖๒.

พระภานุพงศ์ อนุตฺตโร (โคตรศรีกุล). “การอยู่ปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท: กรณีศึกษาวัดสระพังทอง จังหวัดนครพนม”. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.

พระมหาสุเทพ สุวฑฒโน(เหลาทอง). “กลยุทธ์การเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ๖(๓), (พฤษภาคม), ๒๕๖๒.

พระมหาสุริยา วรเมธีและคณะ. “แนวคิดและหลักการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา”. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยรายงานการวิจัย, ๒๕๕๑.

พระสมบูรณ์ ธนิสฺสโร (พวงศรี). “การอยู่ปริวาสกรรมที่มีผลต่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา”. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.

พระอภิสิทธิ์ อภิสิทฺธิโก (อ่อนคำ). “การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษ”. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.

วริยา ชินวรรโณ และคณะ. สมาธิในพระไตรปิฎกวิวัฒนาการการตีความคำสอนเรื่องสมาธิในพระพุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๘.

อุดร เขียวอ่อน และคณะ. “รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ”. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.