การสร้างสันติภาพภายในตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความ เรื่อง “การสร้างสันติภาพภายในตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การสร้างสันติภาพตามหลักวิทยาการสมัยใหม่ ๒) เพื่อศึกษาหลักการ และวิธีปฏิบัติในการสร้างสันติภาพตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓) เพื่อเสนอวิธีการสร้างสันติภาพภายในตามหลักพุทธศาสนาเถรวาท โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้
สันติภาพตามวิทยาการสมัยใหม่ หมายถึง สภาวะแห่งสันติ หรือสถานะแห่งความสุขในบุคคล ซึ่งจัดเป็นสันติภาพภายนอก มุ่งขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมโลกที่เกิดจากการรุกล้ำสิทธิเสรีภาพทางเชื้อชาติ สีผิว วัฒนธรรม ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความเป็นอยู่ สงครามเศรษฐกิจ และการขัดแย้งผลประโยชน์ มุ่งเน้นต่อต้านความอยุติธรรม ด้วยการต่อสู้เรียกร้องให้เกิดสันติภาพขึ้นในสังคมโลก สันติภาพตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึง ความสุข สงบเย็น เป็นอิสระจากความทุกข์ มุ่งเน้นที่จิตใจมนุษย์อันเป็นสันติภาพภายใน สามารถพัฒนาสูงสุดสู่พระนิพพาน การสร้างสันติภาพภายในตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท อาศัยหลักธรรม คือ ๑) ไตรสิกขา ๒) เมตตา ๓) การเจริญสติ ๔) การสร้างสันติในจิตใจ ๕) การไม่ว่าร้ายผู้อื่น ๖) ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ โดยการฝึกอบรมจิตใจตั้งแต่วัยเยาว์ ผ่าน ๓ สถาบันหลัก ได้แก่ บ้าน วัด และโรงเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสฺยามรฏฺ เตปิฏกํ ๒๕๒๕. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๕.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. ๒๘ เม.ย. ๒๕๖๐) สันติภาพความมั่นคงและการลดอาวุธ: การรักษาและเสริมสร้างสันติภาพในกรอบสหประชาชาติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.mfa.go.th/thai_inter_org/th/policy/6458/71949 B4.html [๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑].
ทูตสันติภาพคณะอนุกรรมการทูตสันติภาพฝ่ายวิชาการและการศึกษา. “สนทนาสันติภาพสู่ต้นกล้าเยาวชน (ประเทศไทย) ครั้งที่ ๑” วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ, ๒๕๕๓ (๑๓.๐๐ น.). ณ ห้องประชุมมูลนิธิสหพันธ์สันติภาพสากล). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.upf.or.th/2010/images/stories/image_article/AFP/ activity/activity02/Peace%20Talk%201.pdf. [๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๑].
ธนิต อยู่โพธิ์. คู่มือวิจัยธรรมวิจารณ์ส่วนปรมัตถ์ปฏิปทา. พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๒๔.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). การศึกษาเพื่อสันติภาพ. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมมิก จำกัด, ๒๕๔๐.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๙. โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธวิธีแก้ปัญหาเพื่อศตวรรษที่ ๒๑. จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในงานฌาปนกิจศพ นายปรีชา เพชรติ้น ณ เมรุวัดชลประทานรังสฤษฏ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๖๕๔. นนทบุรี: โรงพิมพ์เดือนตุลา, ๒๕๕๕.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). วิถีสู่สันติภาพ. บริษัทพิมพ์สวยจำกัด ถ.เทศบาลรังสฤษฏ์เหนือ แขวงลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ, ๒๕๔๖. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.watnyanaves.net/uploads/File/ books/pdf/the_path_to_peace.pdf [๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๑].
พุทธทาสภิกขุ. สันติภาพของโลก. สุราษฎร์ธานี: โรงพิมพ์ธรรมทานมูลนิธิ, ๒๕๓๑.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘
มหามกุฏราชวิทยาลัย. ธมฺมปทฏฺฐกถา (ปฐโม ภาโค). พิมพ์ครั้งที่ ๒๑. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒ ตอนที่ ๓. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสฺยามรฏฺเตปิฏกํ ๒๕๒๕. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๕.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์ พับริเคชั่น, ๒๕๔๖.
รุ่งธรรม ศุจิธรรมรักษ์. “สันติศึกษากับสันติภาพ”. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา สันติศึกษา หน่วยที่ ๑. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๓. ๙-๑๑. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://ird.stou.ac.th/dbresearch.pdf [๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๑].
รุ่งธรรม ศุจิธรรมรักษ์. สันติศึกษากับสันติภาพ ในสันติศึกษา หน่วยที่ ๑-๑๗. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, ๒๕๔๕.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. พุทธประวัติ เล่ม ๑, (กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
สำราญ สมพงษ์. “ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตามแนวทางพุทธสันติวิธี: กรณีศึกษาเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร.. ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๙): ๑๓๗-๑๓๘. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: Doi: 10.14456/jmcupeace.2016.9 138 [๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๑].
G.P. Malalasekera. Dictionary of Pali ProPer Names Vol. II. New Delhi: Munshiram Manoharlal Publishers Pvt. Ltd, 1998.
Galtung. Johan. “Violence. Peace. and Peace Research”. in Essays on Peace. Australia: Central Queensland University Press, 1995.
Oxford University. Oxford Advanced Leaner’s Dictionary. 7 edition. USA: Oxford University Press, 2005.