ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวน่านที่มีต่อเสาพระหลักเมืองน่าน

Main Article Content

วานิตธิวัฒน์ คำเรือง
สว่างจิต ขันตี
พระชยานันทมุนี พระชยานันทมุนี
ชำนาญ เกิดช่อ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวน่านที่มีต่อเสาพระหลักเมืองน่าน   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและลักษณะเฉพาะของพระเสาหลักเมืองน่าน และเพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมของพระเสาหลักเมืองน่าน ระเบียบวิธีวิจัยได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า เสาพระหลักเมืองน่านสร้างจากไม้สักทอง โดยสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๕๗ มีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามลำดับจนถึงปัจจุบัน, ลักษณะเฉพาะของเสาพระหลักเมืองน่าน คือ ยอดเสาเป็นรูปพระพรหม ๔ หน้า ซึ่งหมายถึงหลักธรรมพรหมวิหาร ๔ และประดิษฐานอยู่ในเทวสถานจัตุรมุข ณ วัดมิ่งเมือง ด้านความเชื่อ ชาวน่านมีความเชื่อว่าเสาพระหลักเมืองน่านเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นศูนย์รวมใจ ส่วนพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเสาพระหลักเมืองน่าน ได้แก่ พิธีสักการะบวงสรวงเสาพระหลักเมืองน่าน พิธีทำบุญสืบชะตาหลวง และพิธีสรงน้ำเสาพระหลักเมืองในช่วงเทศกาลสงกรานต์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรพรรณ เกิดผล. “การเปลี่ยนแปลงคติความเชื่อเรื่องเสาหลักเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๒๕-๒๕๒๕”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. (สาขาวิชาประวัติศาสตร์). คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๒.

พูลผล เงินเพ็ง. “คติความเชื่อเกี่ยวกับเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดมหาสารคาม”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. (วิชาเอกไทยคดีศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรี- นครินทรวิโรฒ, ๒๕๓๖.

สมพร พุทธาพิทักษ์ผล. รองศาสตราจารย์ ดร. และคณะ. โครงการศึกษางานด้านวัฒนธรรมการจัดการสารสนเทศและภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดน่าน. สาขาวิชาศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยสุโขมัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๙.

สาธนี ภูสนาม. “ความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนต่อศาลหลักเมือง จังหวัดขอนแก่น”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. (สาขาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, ๒๕๔๙.

อรุณโรจน์ กลิ่นฟุ้ง. “หลักเมือง หลักบ้าน “เสา” พุทธ พรามหณ์ ผี”. วิทยานิพนธ์ศิลปบัณฑิต. (สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ). คณะโบราณคดี: มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.