A โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กพิการซ้ำซ้อนตามแนวพุทธจิตวิทยา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อนำเสนอโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กพิการซ้ำซ้อนตามแนวพุทธจิตวิทยา

Main Article Content

Anchalee Peangmak

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กพิการซ้ำซ้อนตามแนวพุทธจิตวิทยา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดูแลเด็กพิการซ้ำซ้อน จำนวน ๒๖ คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง มีระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research)  มีผลการศึกษาวิจัยพบว่าโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กพิการซ้ำซ้อนตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการจากทฤษฎีจิตวิทยาเชิงบวกร่วมกับหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นการพัฒนาจิตตามแนวพุทธเพื่อให้เป็นผู้ดูแลที่มีการพัฒนาตนให้สมบูรณ์ขึ้นทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และปัญญา โดยใช้ พรหมวิหาร ๔ ซึ่งเป็นหลักธรรมของผู้ปกครองผู้เป็นใหญ่ส่งเสริมคุณค่าทางจิตใจ เกื้อกูลต่องานด้านการดูแลเด็กพิการซ้ำซ้อนให้มีฐานใจที่มีคุณธรรม และภาวนา ๔ เป็นหลักธรรมที่พัฒนามนุษย์ให้เจริญขึ้นด้วยการพัฒนากาย ศีล จิต ปัญญา ซึ่งองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัยคือ คุณลักษณะที่ดีของผู้ดูแลเด็กพิการซ้ำซ้อนตามแนวพุทธจิตวิทยา ๔ ด้าน คือ ด้านจิตใจเป็นพรหม ด้านจิตกุศล ด้านสติ และด้านคิดบวก มีจิตใจที่เปี่ยมด้วยความรักความเมตตาไม่มีประมาณ มีความภาคภูมิใจในอาชีพและตนเอง มีสติรู้เท่าทัน เข้าใจความเป็นจริงของโลกและชีวิต ให้การดูแลเด็กพิการซ้ำซ้อนด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของผู้ดูแลแนวพุทธที่มีคุณภาพใจสมบูรณ์พร้อมที่จะทำงานอย่างเต็มที่มีประสิทธิภาพและมีความสุขในการดำเนินชีวิต 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ และอำนาจ บัวศิริ, สุขชีวีวิถีพุทธในชุมชนเมืองยุค 4.0: กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 (พฤศจิกายน 2563).

จิริยา อินทนา, ดร.เยาวลักษณ์ มีบุญมาก และคณะ, “บริการสุขภาพแบบไหน เข้าใจความเป็นมนุษย์”, พิมพ์ครั้งที่ ๑, (ราชบุรี: สำนักพิมพ์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. ๒๕๕๗).

ณัชพร ศุภสมุทร์ และคณะ, “การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ”, เอกสารประ กอบการสอนสถาบันราชานุกูล, (สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ๒๕๕๓).

นพ.สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์. “ผลของการฝึกสติและคิดบวก ที่มีต่อสุขภาวะเชิงอัตวิสัยของบุคลากรใน โรงพยาบาลชุมชน” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๖๑.

บล็อกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์, (๑๐ มีนาคม ๒๕๑๒) พระราชดำรัสพระบาทสม เด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, พิธีพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร, จังหวัดน่าน, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.snamcn.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=57522 (วันที่

๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๖).

พระพรหมคุณภรณ์ (ป.อ.ปยุตตโต), “หนังสือพุทธธรรม (ฉบับเดิม)”, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (นนทบุรี: โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์. ๒๕๕๓).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) “มองธรรมให้ถูกทาง มีสุขทุกที่”, พิมพ์ครั้งที่ ๓๙, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด. ๒๕๕๘).

Nitayaporn/thongpet/kanchana/Maneewan, “สุขภาวะทางปัญญาและใจ” คือต้นทางมีสุขภาพกายดียั่งยืน, กรมสุขภาพจิต, [ออนไลน์],แหล่งที่มา: https://www.dmh.go.th/news-dmh/ view.asp?id=30117 [๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๒].