นัยอคติในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในภาษาพาดหัวข่าว ของหนังสือพิมพ์ออนไลน์

Main Article Content

รุจี ตันติอัศวโยธี
บุญเลิศ โอฐสู

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เรื่อง “นัยอคติในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในภาษาพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ออนไลน์” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาเรื่อง “อคติ” ในพระพุทธศาสนา ๒) ศึกษาลักษณะของภาษาพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ๓) วิเคราะห์นัยอคตินะรุทธศาสนาที่ปรากฏในภาษาพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ โดยใช้แนวคิดเรื่อง “อคติ” ในพระพุทธศาสนาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากภาษาพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ๔ ฉบับคือ ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน และข่าวสด” (เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ – เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๒)


ผลการวิจัยพบว่า ๑) อคติ ในพระพุทธศาสนา คือความลำเอียงอันประกอบด้วย ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะความรัก), โทสาคติ (ลำเอียงเพราะความไม่ชอบ ความเกลียดชัง), โมหาคติ (ลำเอียงเพราะความหลง ความเขลา) และ ภยาคติ (ลำเอียงเพราะความกลัว) พระพุทธศาสนามองเห็นว่า อคติ ๔ เป็นสิ่งจำเป็นทั้งในหมู่พระสงฆ์และฆราวาส การละอคติจะทำให้สังคมมั่นคง อยู่กันอย่างปกติสุข ๒) ภาษาพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ออนไลน์มีความหลากหลายทั้งในด้านการใช้คำ, ประโยค,สำนวน, และอุปลักษณ์ ๓) พบนัยอคติในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในภาษาพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ออนไลน์จำนวน ๔๐ ครั้ง, หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์มีจำนวนนัยอคติมากที่สุด คือ ๑๖ ครั้ง, หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์มีจำนวนนัยอคติน้อยที่สุด คือ ๖ ครั้ง, นัยอคติที่พบมากที่สุดในภาษาพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ คือ “โทสาคติ” มีจำนวน ๑๖ ครั้ง และนัยอคติที่พบน้อยที่สุดในภาษาพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ คือ “ภยาคติ” มีจำนวน ๓ ครั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

นิตติยา ศรีคง, “พฤติกรรมการเปิดรับ ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์จากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎ สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ระดับชั้นปีที่ ๑”, บทความวิจัย วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช.

ราตรี เงางาม, “แนวโน้มหนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทย ปี ๒๕๖๐”, บทความวิจัย The Graduate Research Conference Khon Kaen University ๒๐๑๑.

วัฒณี ภูวทิศ. “ผู้สื่อข่าวกับการใช้ประโยชน์และความน่าเชื่อถือของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรายงานข่าวสาร”. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ), กรุงเทพมหานคร, ๒๕๖๑.

Money to Know, “เว็บไซด์หนังสือพิมพ์เดือน มี.ค. ฟื้น ไทยรัฐครองแชมป์คนเข้าอ่านมากสุด”, <https://money2know.com>, 2/8/2018.