รูปแบบการใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลคลินิกโรคทางอายุรกรรมเรื้อรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องรูปแบบการใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลคลินิกโรคทางอายุรกรรมเรื้อรัง มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลคลินิกโรคทางอายุรกรรมเรื้อรัง ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลคลินิกโรคทางอายุรกรรมเรื้อรัง ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลคลินิกโรคทางอายุรกรรมเรื้อรัง และ ๔) เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลคลินิกโรคทางอายุรกรรมเรื้อรัง” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลองแบบไม่มีกลุ่มควบคุมของประชากรพยาบาลดูแลผู้ป่วยทางอายุรกรรมเรื้อรัง และการวิจัยเชิงคุณภาพจากข้อมูลปฐมภูมิ การสร้างชุดความรู้ และแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้พรหมวิหาร ๔ ของพยาบาลคลินิกโรคทางอายุรกรรมเรื้อรัง มีผลการศึกษาวิจัยพบว่า ในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลคลินิกโรคทางอายุรกรรมเรื้อรังนั้นโดยใช้หลักพรหมวิหาร ๔ พัฒนารูปแบบด้วยการนำ
พรหมวิหาร ๔ ผสมผสานกับทฤษฎีเท็นแคริ่ง นำเสนอรูปแบบ KEsPA คือการดูแลผู้ป่วยทางใจของพยาบาลคลินิกส่งผลต่อพฤติกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคทางอายุรกรรมเรื้อรังที่ปฏิบัติดีขึ้นสอดคล้องกับแผนการรักษาทำให้สามารถประคับประคองผลการตรวจทางร่างกายได้ดีขึ้น โดยองค์ความรู้ใหม่ของการใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลคลินิกโรคทางอายุรกรรมเรื้อรัง คือ “KEsPA Model”
Article Details
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป