แม่ชี : สตรีผู้ชี้นำทางแห่งรักสำหรับเยาวชน

Main Article Content

มนตรี สิระโรจนานันท์ Montree Sirarojanana

บทคัดย่อ

บทความนี้ พัฒนามาจากงานวิจัยในโครงการจัดการความรู้เรื่อง “ศิลปะแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธสู่ทางแห่งรักสำหรับเยาวชนที่ประสบความยากลำบาก” โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานให้แก่แม่ชีในเครือข่ายไทยพัฒน์ และเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่เยาวชนได้มีภูมิคุ้มกันเชิงคุณธรรมจริยธรรม  โดยคณะผู้วิจัยได้ออกแบบการจัดการความรู้ด้วยวิธีการ ๓ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นแรก คือ การสังเคราะห์องค์ความรู้สู่นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเชิงจริยธรรมและคุณธรรม  ขั้นที่สองคือ การจัดฝึกอบรมครูนักจัดการเรียนรู้โดยมีแม่ชีในเครือข่ายแม่ชีไทยพัฒน์ ๒๗ แห่งทั่วประเทศไทยเป็นเป้าหมาย และขั้นที่สาม คือ การจัดฝึกอบรมเยาวชน จำนวน ๔ ครั้ง มีเยาวชนได้รับการอบรมจำนวน ๒๔๕ คน สำหรับการประเมินผลโครงการจัดการความรู้นี้  ทางคณะผู้วิจัยได้ออกแบบการประเมินผลด้วยขั้นตอนวิธีการเชิงสำรวจ การสังเกตการณ์ และการถอดบทเรียน เป็นตัวชี้วัดผลของการดำเนินกิจกรรมในแต่ละครั้ง และผลที่ได้มาวิเคราะห์และอภิปรายผล


ผลการการวิจัยพบว่า โครงการนี้ได้ช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ ทักษะ เทคนิคและกระบวนการอบรมให้แก่แม่ชีเพื่อเตรียมความพร้อมเป็นครูนักจัดการเรียนรู้  และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันเชิงจริยธรรมและคุณธรรมสำหรับให้แก่เยาวชน ผลลัพธ์จากโครงการพบว่า เยาวชนกลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลง คือ มีความรักในตนเอง เรียนรู้จักที่จะไว้วางใจเพื่อน มีความกล้าหาญ เรียนรู้ในเรื่องของความสามัคคี  ได้สัมผัสกับความอ่อนโยนภายในจิตใจและมีสติรู้เท่าทันกับการป้องกัน มีภูมิคุ้มกันทางใจมากขึ้น และยังได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่อง “เพศสัมพันธ์”  ในกระบวนการเรียนรู้ แม่ชีในฐานะครูนักจัดการเรียนรู้ได้มีการเปลี่ยนแปลงตนโดยเฉพาะในเรื่องภาวะความเป็นผู้นำ มีความกล้าหาญ กล้าแสดงออกมากขึ้น เรียนรู้การอยู่ร่วมกับทีมในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและสามารถเรียนรู้ ทำเข้าใจความหมายของ
คำว่า “รัก” (ความเมตตา) ในพระพุทธศาสนาผ่านบทบาทของตนที่ทำงานในโครงการ ตลอดจนถึงตระหนักปัญหาทางเพศที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ประการที่สำคัญ คือ
แม่ชีได้แสดงศักยภาพและบทบาทของผู้หญิงในพระพุทธศาสนากับการทำงานเพื่อสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย