ภูมิสถาปัตยกรรมของวัดไทยกับการเรียนรู้และการเสริมสร้าง สุขภาวะเชิงพุทธบูรณาการ

Main Article Content

Wutthinan Kuntathian

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓  ประการ ได้แก่ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด โครงสร้าง และลักษณะของวัดในสมัยพุทธกาล ๒) เพื่อศึกษาโครงสร้างและลักษณะทางภูมิสถาปัตยกรรมของ
วัดไทย และ ๓) เพื่อวิเคราะห์ภูมิสถาปัตยกรรมของวัดไทยกับการเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธบูรณาการ ในการศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยวิเคราะห์เอกสาร สังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม พร้อมกับสัมภาษณ์ และสัมมนากลุ่มย่อย กรอบวิเคราะห์พื้นที่ถูกนำมาใช้เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็น ๓ แบบ ได้แก่ ๑) พื้นที่ทางกายภาพ
๒) พื้นที่ทางสังคม และ ๓) พื้นที่ทางจิตวิญญาณหรือปัญญา  จากการศึกษาพบว่าวัดในสมัยพุทธกาล พัฒนามาจากหลักคิดพื้นฐานคือพื้นที่ต้องมีความเป็น“สัปปายะ” หรือเป็น “พื้นที่รมณีย์” ซึ่งตรงกับคำว่าว “อาราม” และเน้นจุดหมาย ๒ ประการ ได้แก่ (๑) ทำให้เป็นพื้นที่ละกิเลส [ปหานาราม] (๒) ทำให้เป็นเขตพัฒนากุศล [ภาวนาราม]   ภูมิสถาปัตยกรรมของวัดไทย
ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดหลัก ๓ ประการ ได้แก่ (๑) จักรวาลวิทยาและไตรภูมิ (๒) หลักสัปปายะ และ (๓) แนวคิดที่ผสมผสานระหว่างเรื่องจักรวาลวิทยาไตรภูมิหลัก
สัปปายะและภูมิปัญญาชาวบ้าน สำหรับกรณีศึกษาวัดทั้ง ๕  แห่ง พบว่าได้จัดพื้นที่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่เป็นไปตามศักยภาพและความเหมาะสม ส่วนในด้านการเสริมสร้างสุขภาวะ ได้จัดพื้นที่ให้เกื้อหนุนกันทั้งพื้นที่ทางกายภาพ สังคม และจิตวิญญาณหรือปัญญา  ข้อเสนอแนะในงานวิจัยคือ วัดไทยควรจะเน้นด้านกายภาพก่อน และให้ความสำคัญกับการร่วมมือกับประชาชนเพื่อสะท้อนความต้องการที่แท้จริง แต่กระนั้นต้องยึดเป้าหมายเดียวกันคือมุ่งให้เป็นวัดสงบ ร่มรื่น และทำให้คนเข้าถึงวัดพร้อมกับการเข้าถึงธรรมในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย