การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล เชิงพุทธแบบไตรสิกขา

Main Article Content

Boonrean Teanthon
Nopadol burananuth
Phra Rajvaramethi (Prasit Brahmarangsi)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา ๑. ศีล (ประกอบด้วยหลักคุณธรรม การตัดสินใจ  และความคุ้มค่า) มีผลต่อสมาธิ ๒. สมาธิ (ประกอบด้วยการมีส่วนร่วม ความอดทน และความรับผิดชอบ) มีผลต่อปัญญา และ ๓. องค์ประกอบของศีล สมาธิ และปัญญา มีผลต่อการบริหารสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพ ระเบียบวิธีวิจัย ๑. ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนโพธิสารพิทยากร จำนวน ๔๐๐ ราย ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบปกติ (ordinary multiple regression analysis, MRA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเชิงชั้น (hierarchical regression analysis) ๒.ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศาสนา จำนวน ๒ รูป/คน และผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน ๔ โรงเรียน ซึ่งผู้อำนวยการทุกท่านเคยเป็นผู้บริหารของโรงเรียนโพธิสารพิทยากรมาก่อน  และได้เลือกโรงเรียนนี้เพื่อทำวิจัยเนื่องจาก ในอดีตเป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยมาก และมีแนวโน้มจะถูกยุบรวมไปอยู่กับโรงเรียนขนาดใหญ่ ด้วยความสามารถของผู้บริหารที่มีการปรับปรุงแก้ไขโดยใช้หลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธแบบไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิและปัญญา มาเป็นแนวทางในการบริหารพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศด้านวิชาการสู่มาตรฐานสากล มีคุณธรรรม จริยธรรม ตามวิถีไทยบนความพอเพียงจึงทำให้ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชนให้ความไว้วางใจ  ผลการวิเคราะห์พบว่า  ๑. ปัจจัยของศีล ได้แก่ คุณธรรม และความคุ้มค่า  มีผลต่อสมาธิ  ๒. ปัจจัยของสมาธิที่มีผลต่อปัญญา ได้แก่ การมีส่วนร่วม และความอดทน ๓. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารโรงเรียนอย่างมีคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธแบบไตรสิกขา  คือ ปัจจัยของศีล  สมาธิ และปัญญา  พบว่า  คุณธรรม  ความคุ้มค่า การมีส่วนร่วม ความอดทน ความรับผิดชอบ นิติธรรม ความโปร่งใส และความซื่อสัตย์ มีผลต่อการบริหารโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย