ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางเพศตามคัมภีร์พระพุทธศาสนา

Main Article Content

Phramaha Nantakorn Piyabhani
Phramaha Pornchai Sirivaro
Phramaha Khwanchai Kittimethi

บทคัดย่อ

ปัจจุบันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์ส่วนใหญ่มีเพียง ๒ เพศคือ เพศชายกับเพศหญิง หากแต่ยังมีบุคคลพิเศษจำพวกหนึ่งที่มีพฤติกรรมผิดปกติ ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า “ผู้เบี่ยงเบนทางเพศ” คำว่า “ผู้เบี่ยงเบนทางเพศ”สังคมไทยส่วนใหญ่ยังคงมีทัศนคติว่า “เป็นคนผิดปกติ” แม้จะไม่มีการต่อต้านผู้เบี่ยงเบนทางเพศอย่างรุนแรงก็ตาม  แต่ที่ผ่านมาพบว่า ผู้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศยังคงมีพื้นที่ยืนในสังคมที่จำกัด และถูกจำกัดสิทธิ์บางประการอย่างไรก็ตาม ในมุมมองพระพุทธศาสนามีความเชื่อว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีจะได้ในสิ่งที่ต้องการทุกเพศมีสิทธิทัดเทียมกันทางด้านพุทธิภาวะคือสิทธิทางการบรรลุธรรม นั่นก็หมายถึงว่า เมล็ดแห่งโพธิในใจคือ เมล็ดแห่งการรู้ ตื่น เบิกบานในใจ มีอยู่ทั่วทุกตัวคนโดยไม่จำแนกแยกแยะว่า เป็นเพศหญิง เพศชาย หรือเพศทางเลือก ทุกคนมีสิทธิเข้าถึงได้โดยปราศจากเงื่อนไขทางเพศ ชนชั้น หรือวรรณะ พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อในหลักของเหตุและผล นั่นก็หมายความว่า ผู้ใดใครก็ตามทำดี ก็ได้รับผลดีทำไม่ดี ก็จะได้รับผลชั่ว จากการศึกษาเรื่องนี้พบว่า ๑) มี ๒ ปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุของการเบี่ยงทางเพศคือ ปัจจัยภายนอกกับปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกได้แก่ ครอบครัวโรงเรียนเพื่อนสิ่งแวดล้อมและสื่อสังคมเป็นต้น ส่วนปัจจัยภายในได้แก่ กรรมคือการกระทำที่มนุษย์ได้กระทำในช่วงก่อนหน้านี้ ๒) วิธีที่จะทำให้ผู้เบี่ยงเบนทางเพศสามารถอยู่ร่วมกับคนปกติได้อย่าง
มีความสุขต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้ ก) นักสังคมสงเคราะห์ ข) นักจิตแพทย์
ค) ฝ่ายกฎหมาย ง) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และจ) พระพุทธศาสนา งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าทุกฝ่ายมีส่วนเกี่ยวข้องในการหาหนทางที่ดีกว่าสำหรับผู้เบี่ยงเบนทางเพศกับคนทั่วไปในการดำเนินการชีวิตร่วมกัน และจำเป็นต้องทำให้ได้ผลในระดับที่สูงขึ้น เพื่อผลประโยชน์และความสุขของคนในสังคมสืบไป

Article Details

บท
บทความวิจัย