น้ำปัสสาวะบำบัดโรคกับน้ำมูตรเน่า : ความเหมือนและความแตกต่าง

Main Article Content

Phramaha Adidej Sativaro (Sukwattanawa (Sativaro Sukwattanawadee)

บทคัดย่อ

น้ำปัสสาวะบำบัดโรคในปัจจุบันได้รับอิทธิพลแนวคิดบางประการมาจากน้ำมูตรเน่าในพระพุทธศาสนา จึงมีทั้งส่วนที่เหมือนกันและส่วนที่แตกต่างกันออกไป ในส่วนที่เหมือนกันนั้นมี ๓ ข้อ ได้แก่ ๑) แนวคิดเรื่องความน่ารังเกียจของน้ำปัสสาวะ ไม่ว่าจะยุคสมัยใด น้ำปัสสาวะในความคิดของคนส่วนใหญ่ ก็คือ ของเสียที่ร่างกายผลิตออกมา มีกลิ่นเหม็นและน่ารังเกียจอยู่เป็นนิตย์ ๒) แนวคิดเรื่องความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า ถือเป็นการอ้างอิงพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดศรัทธาที่ตั้งมั่นยิ่งขึ้น ๓) แนวคิดเรื่องการใช้หลักการทางธรรมชาติมารักษาโรค การใช้น้ำปัสสาวะถือเป็นการใช้วิถีทางธรรมชาติมาเยียวยารักษาสุขภาพให้แข็งแรงขึ้น ในส่วนที่แตกต่างกันนั้นมี
๓ ข้อ ได้แก่ ๑) แนวคิดเรื่องความหมายที่แท้จริงของน้ำมูตรเน่า ๒) แนวคิดเรื่องการใช้น้ำมูตรเน่าที่ถูกต้อง  และ ๓) แนวคิดเรื่องวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของน้ำมูตรเน่า น้ำมูตรเน่าใน
สมัยพุทธกาล หมายถึง น้ำปัสสาวะของโค หรือน้ำปัสสาวะของมนุษย์ ที่ได้รับการดองร่วมกับสมุนไพร มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้รักษาโรคผอมเหลือง ต่างจากน้ำปัสสาวะบำบัดโรคที่ใช้น้ำปัสสาวะของตนเองโดยปราศจากการดองร่วมกับสมุนไพร แต่กลับใช้รักษาโรคได้หลายชนิด

Article Details

บท
บทความวิชาการ