ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Main Article Content

Wipat Thestham
Pariyachat Promsi
Sathit Chanachai

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งกำลังศึกษาในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๕๗๖ รูป/คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยและขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้จากสูตรการคำนวณของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น .๐๕ จำนวน ๒๘๘ รูป/คน โดยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และเพื่อให้เครื่องมือมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) และมีความเชื่อมั่น (Reliability) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาประกอบด้วยปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในประกอบด้วย ๑) ด้านความเมตตา พบว่า นักศึกษายินดีจะให้อภัยเมื่อเพื่อนทำผิดหรือทำให้ไม่พอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๔ ๒) ด้านความซื่อสัตย์ พบว่า นักศึกษาไม่กล่าวคำโกหกเพื่อทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๖ ๓) ด้านความมีวินัย พบว่า นักศึกษาแต่งกายเรียบร้อยตามมหาวิทยาลัยกำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๘ ๔) ด้านความอดทน พบว่า นักศึกษายอมรับข้อบกพร่องในการทำงานและรับฟังข้อเสนอแนะจากเพื่อนๆ โดยไม่แสดงความไม่พอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๙ ๕) ด้านมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบ พบว่า นักศึกษาส่งการบ้านหรืองานตรงตามที่กำหนดเสมอ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๔ ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาและสภาพครอบครัวของนักศึกษา พบว่า ๑) นักศึกษาอยู่ในครอบครัวที่มีการทำกิจกรรมร่วมกันเสมอ เช่น ทำอาหาร ทานอาหารร่วมกัน ปลูกผัก ไปเที่ยวร่วมกัน ฯลฯ และอยู่ในครอบครัวที่ผู้ปกครองว่ากล่าวตักเตือนเมื่อท่านกระทำผิดหรือกระทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๐ ๒) ด้านสภาพแวดล้อมด้านสถานศึกษา พบว่า นักศึกษารู้สึกไม่ดีถ้าอาจารย์ผู้สอนไม่มีการลงโทษหรือตำหนิเมื่อนักศึกษากระทำผิดหรือไม่เชื่อฟัง อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๙ ๓) ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม พบว่า การใช้สื่อ internet มีผลทำให้คุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษาเสื่อม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๔

Article Details

บท
บทความวิจัย