ความหลากหลายทางเพศตามทัศนะทฤษฏีจิตวิทยา บุคลิกภาพและพุทธปรัชญาเถรวาท Sexual Diversity Through the Theory of Personality Psychology and Theravada Buddhist Philosoph

Main Article Content

Kanyapak Magee
Phajon Kamchusang

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย “ความหลากหลายทางเพศตามทัศนะทฤษฏี จิตวิทยาบุคลิกภาพและพุทธปรัชญาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑.ศึกษาสาเหตุของความหลาก หลายทางเพศที่ปรากฏในทฤษฏีจิตวิทยาบุคลิกภาพ   ๒. เพื่อศึกษาสาเหตุของความหลากหลาย ทางเพศที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท   ๓. เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการปรับดุลยภาพของ พฤติกรรมที่มีความหลากลายทางเพศ  ตามทัศนะทฤษฏีจิตวิทยาบุคลิกภาพและพุทธปรัชญาเถรวาท  โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือ การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) โดยวิธีการวิเคราะห์ ข้อมูลและเสนอการวิจัยโดยการตีความในลักษณะพรรณนาเชิง วิเคราะห์(Descriptive) โดยการศึกษาจากคือคัมภีร์พระไตรปิฏก    ๒.ศึกษาค้นคว้าและรวบรวม ข้อมูลเอกสารชั้นทุติยภูมิ(Secondary Source)  มีทั้งอรรกถา ฏีกาและคัมภีทางพระพุทธศาสนา  ที่สำคัญอื่นๆ รวมถึง หนังสือเอกสารและตำราวิชาการ   พร้อมทั้งบทความ เอกสาร ตำราอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องพุทธปรัชญาและทฤษฏีจิตวิทยาบุคลิกภาพ ๓.นำข้อมูลที่ได้จากเอกสารชั้นปฐมภูมิและ ทุติยภูมิ มารวบรวมเรียบเรียงตลอดจนถึงข้อมูลที่ได้จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง กับงานวิจัยมา วิเคราะห์ถึงพฤติกรรมความหลากหลายทางเพศ   ๔. สรุปผลการวิเคราะห์ทั้งสองทัศนะอธิบาย ความและแสดงเหตุผล พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการปรับดุลยภาพพฤติกรรมความหลากหลาย ทางเพศผลการวิจัยพบว่า(๑)สาเหตุความหลากหลายทางเพศในทัศนะทางจิตวิทยาพบว่ามนุษย์มี ทั้งความเป็นหญิงและความเป็นชายอยู่ในตัว ความหลากหลายทางเพศนั้นเกิดจากการเลี้ยงดูในวัยเด็กและการเลียนแบบบทบาททางเพศจากครอบครัวและสิ่งแวดล้อมทางสังคม สิ่งแวดล้อมมี อิทธิพลในการหล่อหลอมลักษณะความเป็นหญิงและความเป็นชาย ให้เกิดขึ้นตามที่สังคมนั้นๆ คาดหวัง (๒) สาเหตุความหลากหลายทางเพศในทัศนะพุทธปรัชญานั้นพบว่า เป็นความหลาก หลายตามธรรมชาติ อันเกิดจากกรรมพุทธปรัชญาไม่ได้ให้ความสำคัญในส่วนที่เป็นเพศ แต่ให้ ความสำคัญที่การกระทำเป็นหลักเพราะทุกเพศล้วนทำกรรมดีได้และบรรลุธรรมได้ทั้งหมด
(๓) จากการศึกษาวิเคราะห์แนวทางการปรับดุลยภาพด้านจิตวิทยา ผู้วิจัยได้เสนอทฤษฏีตัวตนของ คาร์ลโรเจอร์และทฤษฏีบทบาททางเพศของแซนดร้า เบม เป็นแนวทางในการปรับดุลยภาพโดย มุ่งไปที่การรับรู้อัตลักษณ์แห่งตน การเข้าใจตนเองตามความคาดหวังที่ตนเองนั้นอยากเป็น การ แสดงบทบาททางเพศที่เหมาะสมกับภาวะของตนและภาวะเพศที่ตนอยากเป็น ซึ่งเน้นการควบ คุมพฤติกรรมภายนอก ด้านพุทธปรัชญามีกระบวนการปรับดุลยภาพความหลากหลายทางเพศ โดยเน้นการกระทำทางกาย วาจา และใจให้ถูกต้องตามหลักกุศลกรรมบถ ๑๐ ด้วยการคำนึง ถึงบทบาทและหน้าที่ของตนที่ต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสมตามหลักทิศ ๖ นอกจากนั้นต้อง ตระหนักรู้ถึงฐานจิต ตามจริตของตนแล้วปรับจริตที่แสดงออกเป็นพฤติกรรมเหมาะสมอย่างมี ดุลยภาพ ซึ่งเน้นที่การพัฒนาจิตหรือความคิดภายในก่อนพัฒนาพฤติกรรมภายนอก เพื่อให้ พฤติกรรมภายในควบคุมพฤติกรรมภายนอก

Article Details

บท
บทความวิจัย