การวิเคราะห์วิธีตอบปัญหาอุภโตโกฏิ (ปัญหาสองเงื่อน) ในทัศนะของพุทธปรัชญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาอุภโตโกฏิในพุทธศาสนาจัดเป็นปัญหาประเภทหนึ่งที่ยากแก่การตอบ เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่มีลักษณะบังคับให้ผู้ตอบต้องเลือกข้างหรือมุมใดมุมหนึ่งและหากผู้ตอบเลือกตอบมุมหนึ่งก็จะไปขัดแย้งกับอีกมุมหนึ่งทันที ปัญหาอุภโตโกฏิในพุทธปรัชญาถูกผูกขึ้นโดยนักบวชนอกพุทธศาสนาเพื่อประลองความรู้กับพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก มีลักษณะของการอ้างเหตุผลที่เป็นตรรกวิบัติประเภทการเล่นแง่อย่างผิด ๆ (The Fallacy of False Dilemma) ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุให้เกิดวิธีการตอบปัญหาด้วยแง่ที่ ๓ ในพุทธปรัชญาขึ้น ด้วยวิธีพยากรณ์ ๔ และการอ้างเหตุผลอื่น ๆ ประกอบ
ในพุทธปรัชญาพบว่า วิธีการตอบปัญหาอุภโตโกฏิใช้วิธีวิภัชชพยากรณ์เป็นพื้นฐานในการอธิบาย ในกรณีที่ปัญหานั้นมีความซับซ้อนน้อย พบในกรณีที่ปัญหานั้นเป็นปัญหาประเภทจริยศาสตร์ ส่วนปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่นปัญหาประเภทอภิปรัชญาและจริยศาสตร์ร่วมกัน มักปรากฏวิธีตอบปัญหาด้วยชุดคำตอบมากกว่า ๑ วิธี เช่น การตอบปัญหาด้วยวิธีวิภัชชพยากรณ์ ปฏิปุจฉาพยากรณ์ และมีการอ้างเหตุผลด้วยการอุปมาอุปไมยร่วมกัน
Article Details
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป