ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนนักบวชหญิงในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนนักบวชหญิงในสังคมไทย”วัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ ๑)เพื่อศึกษาพัฒนาการประวัติศาสตร์ชุมชมนักบวชหญิงในสังคมไทย ๒)เพื่อศึกษากิจกรรมกระบวนการส่งเสริมพระพุทธศาสนาวัฒนธรรมของชุมชนนักบวชหญิงในสังคมไทย
๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนนักบวชหญิงในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวิธีการเก็บข้อมูลจาก เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย การสังเกตแบบมี
ส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือสำนักแม่ชีไทย ๕ สำนัก ๑.สำนักแม่ชีสนามชี จังหวัดเพชรบุรี ๒.สำนักแม่ชีประชุมนารีจังหวัดราชบุรี ๓.สำนักแม่ชีสันติสุข จังหวัดนครปฐม
๔.สำนักแม่ชีปฏิบัติธรรมเขาพระ จังหวัดสุพรรณบุรี ๕.สำนักแม่ชีวัดป่าภาวนาธรรม จังหวัดปราจีนบุรี ผลการวิจัยพบว่าสำนักแม่ชีทั้ง ๕ สำนัก ผู้นำในการสร้างเป็นแม่ชีที่มีพื้นฐานมาจากการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเคร่งครัดอาศัยอยู่ในป่ามีชีวิตที่สมถะเป็นผู้นำในการปฏิบัติธรรม
มีคฤหัสถ์สนับสนุนด้านการเงินและพระสงฆ์สนับสนุนด้านการให้คำปรึกษา กระบวนการส่งเสริมพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมทั้ง ๕ สำนักคือการยึดหลักวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันสำคัญทางประเพณีจัดอบรมประชาชนเน้นเยาวชนและผู้สูงอายุ แนวทางการพัฒนาชุมชนนักบวชหญิงในสังคมไทยมี ๔ ด้านคือ ๑. การศึกษาเน้นการปฏิบัติกรรมฐาน ๒. การใช้สื่อเทคโนโลยี ๓.การสังคมสงเคราะห์ควรสงเคราะห์ที่พักและอาหาร ๔.การสร้างศาสนสถานเอื้อต่อสิ่งแวดล้อม
Article Details
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป