การประเมินประสิทธิผลนโยบายป่าไม้ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • โชคชัย สมนึก คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jesm.2024.6

คำสำคัญ:

การประเมินประสิทธิผล, นโยบายป่าไม้แห่งชาติ, แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ป่าชุมชน

บทคัดย่อ

     แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นทิศทางให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการและขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการป่าไม้ให้มีเอกภาพ และสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลนโยบายป่าไม้ของประเทศไทยประเภทป่าชุมชนภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบ และเพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานด้านทรัพยากรป่าไม้ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณที่มีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และกำหนดเกณฑ์การประเมินประสิทธิผล ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญและผู้ประเมินจากภาครัฐ เอกชน และประชาชน จำนวน 30 คน พร้อมทั้งใช้แนวคิด CIPPI Model ได้แก่ บริบท (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Product) และผลกระทบ (Impact)

     ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิผลนโยบายป่าไม้ของประเทศไทยฯ ภาพรวมอยู่ในระดับสูง ที่ระดับการประเมิน 4.43 คะแนน จาก 5 คะแนน และได้เสนอแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายแบบองค์รวม เพื่อดำเนินงานด้านทรัพยากรป่าไม้ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยแก้ปัญหาข้อด้อยของนโยบายแบบแยกส่วน พร้อมทั้ง มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการยกระดับการแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าไม้ทับซ้อน และข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาปัจจัยนำเข้าของนโยบายป่าไม้ พร้อมทั้งสร้างความตระหนักเชิงรุกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่ทุกภาคส่วน

References

Akesiripong, P. (2019). Experience in managing community forests. Sukhothai Thammathirat Open University. In Thailand Community forestry (14-2 - 14-37), Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University.

Chompunth, C. (2013). Good Governance and Public Participation in Decision-making Process of Development Project. Journal of Environmental Management, 9(1), 85-106.

Israngkura, A. (2022). Revive forests with forest bonds. Retrieved May 13, 2024, from https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6101.

Kaewsa, W., Khawda, N., Saenluanginn, J., & Boonkiattiboot, R. (2024). The Results of Health Economic Policy on Cultural Health Tourism in COVID-19 Situation Under Public Health Measures: A Case Study of a Sandbox in Chiang Khan, Loei Province. Journal of the Office of Disease Prevention and Control 9 Nakhon Ratchasima, 30(1), 56–68.

Kaewsaen, W., & Vaisumruat, K. (2020). Watershed Community Forest Management by Network Management in Nan Province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(8), 141-159.

Ministry of Natural Resources and Environment. (2019). National Forest Policy. Retrieved May 13, 2024, from https://www.dga.or.th/upload/download/file_27cda8fc3bf06f83ce61942ab47ac98e.pdf.

Nakseeharach, D. (2020). The Conservative and Sustainable Utilization of Community Forests under Draft Community Forest Act. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University,29(2), 98-106.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2018). The National Strategy (2018-2037). Bangkok: National Strategy Secretariat Office, Office of the National Economic and Social Development Board.

Pehprapha, T. (2018). Community Forest Management: A Case Study of Nong Hi Community Forest, Suea Thao Sub-district, Chiang Yuen District, Maha Sarakham Province. College of Asian Scholar Journal, 8(Special issue), 29-39.

Pithiyanuwat, S. (2010). Methodology of Evaluation: The Science of Value. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Poboon, C. (2013). Environmental Assessment. Bangkok: Bangkok block.

Poboon, C. (2017). Environmental Assessment. Bangkok: All in one printing Bangkok.

Royal Forest Department. (2020). National Forest Policy. Bangkok: Royal Forest Department.

SeubNakhasathienFD. (2024). Situation of forests and the environment in Thailand 2024.Retrieved May 3, 2024, from https://www.seub.or.th/bloging/work/2014-113/.

Srang-iam, W. (2024). Thailand Forests Economy Policy in Transition to BCG Economy. Political Science Review, 10(1), 169-214.

Stufflebeam, D. L. (1971). The relevance of the CIPP evaluation model for educational accountability. Journal of Research and Development in Education, 5(1), 1-30.

Wechakit, D. (2019). Resources for community forest management. Retrieved April 2, 2024,from https://www.recoftc.org/thailand/projects/cf-net/stories

Whittington, M. S. (1972). Thomas R. Dye, Understanding Public Policy. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, 1972, pp. xii, 305. Canadian Journal of Political Science, 5(4), 579-580.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

สมนึก โ., & ชมพันธุ์ จ. (2024). การประเมินประสิทธิผลนโยบายป่าไม้ของประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน, 20(1), 110–117. https://doi.org/10.14456/jesm.2024.6

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research