ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง
สำหรับท่านที่สนใจส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน Journal of Environmental and Sustainable Management (JESM) สามารถส่งได้ในระบบของ ThaiJo ดังนี้ ส่งบทความ ซึ่งผู้แต่งจะต้องลงทะเบียนในระบบ ThaiJo ก่อนมีการส่งบทความต่อไป
กระบวนการพิจารณา
บทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนจะได้รับ การประเมินจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิ ตามเกณฑ์การพิจารณาและระยะเวลาดังต่อไปนี้
1.บทความที่เสนอเพื่อตี พิมพ์ในวารสารจะต้องมีเนื้อหาที่มีคุณค่าทางวิชาการในสหสาขาวิชาการจัดการ สิ่งแวดล้อม ตามที่ระบุไว้ข้างต้น และต้นฉบับของบทความเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด (ดูรายละเอียดการเตรียมต้นฉบับ) โดยกองบรรณาธิการจะดำเนินการพิจารณากลั่นกรองบทความเบื้องต้น ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับบทความ
2.บทความที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้น จากกองบรรณาธิการจะได้รับการประเมินเนื้อหาโดยละเอียด จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน ตามที่กองบรรณาธิการกำหนด โดยผู้ประเมินจะไม่ทราบว่าผู้เสนอบทความเป็นผู้ใด เช่นเดียวกับผู้เสนอบทความที่ไม่ทราบว่าผู้ประเมินเป็นผู้ใด (Double-blind Peer Review) กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมข้อพิจารณาในการแก้ไข (ถ้ามี) ภายในระยะเวลาประมาณ 4 – 6 สัปดาห์
3.บทความที่ผ่านการประเมินขั้นต้นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะได้รับการพิจารณาความถูก ต้องตามหลักวิชาการในขั้นสุดท้ายจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิที่ ประเมินบทความ (หากมีการร้องขอ) กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาบทความ ภายหลังจากได้รับการแก้ไขบทความภายในระยะเวลา 2 – 4 สัปดาห์
ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิในการแก้ไขเนื้อหาและ/หรือรูปแบบของต้นฉบับบทความ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ตามที่กองบรรณาธิการเห็นสมควร
การส่งบทความ
การส่งต้นฉบับบทความเพื่อเสนอตีพิมพ์ในวารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน (Journal of Environmental and Sustainable Management) ให้ส่งผ่านระบบวารสารอิเลคทรอนิกส์ของคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ทาง URL: http:/www.tci-thaijo.orglindexphpJEM เท่านั้น พร้อมแนบไฟล์เอกสารที่ระบุรายละเอียดของผู้เขียนบทความ (Author(s)) ได้แก่ ชื่อและสังกัด หรือวุฒิการศึกษาสูงสุด อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เฉพาะผู้รับผิดชอบบทความ (Corresponding Author) ให้ระบุที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หรือ E-mail ที่สามารถติดต่อได้ในกรณีที่ต้นฉบับดังกล่าวมาจากหรือเป็นส่วนหนึ่ง ของวิทยานิพนธ์หรือหลักสูตรการศึกษา โปรดระบุชื่อหลักสูตรและสถาบันการศึกษาให้ชัดเจน เช่น เดียวกับการอ้างอิงแหล่งทุนวิจัย หรือกิตติกรรมประกาศ อนึ่ง ไฟล์ต้นฉบับที่ส่งมาจะต้องไม่ระบุชื่อ ผู้เขียนบทความและข้อความใดใดอันสามารถอ้างอิงถึงตัวตนหรือสังกัดของผู้เขียนบทความได้ วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมได้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมโดยแยกเป็น 1) ค่าธรรมเนียมการส่งบทความ เมื่อต้นฉบับผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ ซึ่งจะนำไปจ่ายเป็นค่าสมนาคุณให้กับผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ และ 2) ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ เมื่อต้นฉบับได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายในการตีพิพิมพ์บทความ อัตราค่าธรรมเนียมของวารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามระเบียบและประกาศของโครงการวารสารและเอกสารทางวิชาการ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งนี้ หากมีข้อสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ กองบรรณาธิการวารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม โครงการวารสารและเอกสารทางวิชาการ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ 0-2727-3125 โทรสาร 0-2374-4280
การเตรียมต้นฉบับ
ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร .doc ของ Microsol Word หรือเทียบเท่า ความยาวของต้นฉบับไม่เกิน 15 หน้า (รวมบทคัดย่อ ภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิง) ต้นฉบับบทความควรมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
ชื่อบทความ: ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
บทคัดย่อ: ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาว 150 - 250 คำ
คำสำคัญ: จำนวน 3 - 5 คำ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
เนื้อหา: เป็นภาษาไทย ใช้ตัวอักษร UPC ขนาด 14 หรือขนาดเทียบเท่า และให้มีหัวข้อได้ไม่เกิน 3 ลำดับได้แก่ ลำดับแรก เช่น บทนำ ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวหนา ลำดับที่สองใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวหนา และลำดับที่สามใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวเอียง ไม่ให้มีลำดับเลขกับหัวข้อลำดับแรก
การจัดรูปแบบอื่น ๆ
- ลำดับตัวเลขที่เป็นหัวข้อให้ใช้ตัวเลขตามด้วยเครื่องหมายจุด เช่น 1. และ 2. ลำดับตัวเลขภายในข้อความ ให้ใช้ตัวเลขตามด้วยเครื่องหมายวงเล็บ เช่น 1) และ 2)
- เครื่องหมายแสดงข้อย่อย ให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งบทความ
- การเอื้องย่อหน้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งบทความกล่าวคือ ให้เยื้องลำดับละ 10 มม. ทั้งนี้ให้หมายรวมถึงการเยื้องหลังเครื่องหมายหรือตัวเลขแสดงหัวข้อ
ภาพ ตาราง และสมการ
ส่วนของต้นฉบับที่เป็นรูปภาพ แผนภาพ และตาราง ให้มีขนาดไม่เกิน 140 x 210 มม. รูปแบบ gray-scale มีระดับความเข้มที่เหมาะสม ตัวอักษรในภาพ และตารางให้มีขนาดไม่น้อยกว่า 12 ทุกภาพ ตารางและสมการจะต้องมีชื่อกำกับได้แก่ "ภาพที่ 1: ตรงกลางด้านล่างของภาพ", "ตารางที่ 1: ชิดขอบซ้าย ด้านบนของตาราง" และ "(1)" ชิดขอบขวาในบรรทัดเดียวกับสมการ รวมทั้งแหล่งที่มา (ถ้ามี) ชิดขอบซ้ายด้านล่างของภาพหรือตาราง
การอ้างอิง
รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม - ปีตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) การเขียนการอ้างอิงให้ใช้ภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันทั้งหมด สำหรับการอ้างอิงเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ