ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรจากป่าชุมชนเตาะตือแม ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรจากป่าชุมชน
เตาะตือแม ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการสำรวจพืชสมุนไพรในป่าชุมชน สัมภาษณ์เชิงลึก เวทีชุมชน และการใช้แบบสัมภาษณ์กับตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน รวม 30 ครัวเรือน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบ พืชสมุนไพรรวม 103 ชนิด โดยพืชสมุนไพรที่ตอบในแบบสอบถามและผ่านกระบวนการคัดเลือกในเวทีชุมชนคือ พืชสมุนไพร 10 ชนิดที่โดดเด่นตามความคิดเห็นของคนในชุมชน สรรพคุณเพื่อบรรเทาอาการแก้เคล็ดขัดยอก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บำรุงกำลังทางเพศ ถอนพิษจากแมลงหรืองู ทั้งนี้วิธีการที่นำสมุนไพรมาใช้พบว่า ส่วนใหญ่ใช้รากนำต้มดื่ม ลำต้นใช้ฝนให้เป็นแป้ง หรือดองกับน้ำอัดลม ใบและยอดรับประทานสดหรือบดให้แหลกนำมาประคบ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้เน้นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านการขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Chemae, R., W. Kaewtathip. and V. Rueangpan. 2015. Utilization of medicinal plants by local people around the Khao Pokyo, Bannang Sata, Yala province. Christian University of Thailand Journal 21(4): 714–728. (in Thai)
Kulsirisritrakul, N., B. Rodbumrung, P. Winairuangrid, S. Deeto and S. Kulsirisritrakul. 2016. The utilization in medical and food of the Nabot community forest plants, Wangchao district, Tak province. Research report. Rajamangala University of Technology Lanna, Tak. (in Thai)
Ndhlovu, P. T., Omotayo, A. O., Otang-Mbeng, W., & Aremu, A. O. (2021). Ethnobotanical review of plants used for the management and treatment of childhood diseases and well-being in South Africa. South African Journal of Botany, 137, 197–215. https://doi.org/10.1016/j.sajb.2020.10.012
Oyeyemi, I. T., Akinseye, K. M., Adebayo, S. S., Oyetunji, M. T., & Oyeyemi, O. T. 2019. Ethnobotanical survey of the plants used for the management of malaria in Ondo State, Nigeria. South African Journal of Botany, 124, 391–401. https://doi.org/10.1016/j.sajb.2019.06.003
Sadeghi, Z. and A. Mahmood. 2014. Ethno-gynecological knowledge of medicinal plants used by Baluch tribes, southeast of Baluchistan, Iran. Revista Brasileira de Farmacognosia 24(6): 706–715.
Srisawat, S., P. Sukchan, C. Pradabsang and S. Limchareon. 2013. Local herbal and wisdom of application in Thai traditional medicine, bordering provinces of southern Thailand. Princess of Naradhiwas University Journal 5(4): 14–27. (in Thai)
Tamang, S., Singh, A., Bussmann, R. W., Shukla, V., & Nautiyal, M. C. 2021. Ethno-medicinal plants of tribal people: A case study in Pakyong subdivision of East Sikkim, India. Acta Ecologica Sinica, January. https://doi.org/10.1016/j.chnaes.2021.08.013
Wangchuk, J., Choden, K., Sears, R. R., Baral, H., Yoezer, D., Tamang, K. T. D., Choden, T., Wangdi, N., Dorji, S., Dukpa, D., Tshering, K., Thinley, C., & Dhendup, T. 2021. Community perception of ecosystem services from commercially managed forests in Bhutan. Ecosystem Services, 50, 101335. https://doi.org/10.1016/j.ecoser.2021.101335