ทศวรรษเพื่อการพัฒนาระบบงานวิชาการรับใช้สังคม

Main Article Content

วิจารณ์ พานิช

บทคัดย่อ

ระบบวิชาการ เป็นกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมมนุษย์  กิจกรรมทางวิชาการทั้งหมดจึงควรดำเนินเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์  แต่สังคมมนุษย์ได้พัฒนาขึ้นอย่างซับซ้อน  ระบบวิชาการก็ซับซ้อนมาก  พัฒนาขึ้นโดยสังคมตะวันตกที่ครอบงำวิชาการของโลกมาเป็นเวลาหลายร้อยปี  และระบบวิชาการของไทยก็ตกอยู่ภายใต้การครอบงำนี้  ทำให้ระบบวิชาการไทยมีลักษณะค่อนไปทาง “วิชาการเพื่อวิชาการ” เชื่อมโยงกับวิชาการของโลกผ่านการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติจนระบบวิชาการไทยถูกตำหนิว่าลอยตัว  ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับปัญหาของสังคม  และหลังจากมีกรณีความวุ่นวายเผาย่านราชประสงค์ในเดือนพฤษภาคม 2553 ก็ได้เกิดความตระหนักร่วมกันของหลายฝ่ายว่าบ้านเมืองของเรากำลังเข้าสู่วิกฤติของการแตกแยก ฝ่ายวิชาการควรได้เข้ามาร่วมรับผิดชอบกิจการบ้านเมืองอย่างจริงจัง (วิจารณ์, 2553) ผมได้เขียนบันทึกออกเผยแพร่ ในบล็อก Gotoknow  เป็นบันทึกชุด วิชาการสายรับใช้สังคมไทย จำนวนกว่า 50 บันทึก (วิจารณ์, 2553 - ปัจจุบัน)  เสนอข้อคิดเห็นในมิติต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาวิชาการสายรับใช้สังคมไทย  เป็นกลไกให้วงการวิชาการเข้าไปใกล้ชิดกับการพัฒนากิจการบ้านเมือง


การพัฒนาวิชาการสายรับใช้สังคมนี้ ต้องพัฒนาอย่างเป็นระบบ  ให้เกิด “ระบบงานวิชาการสายรับใช้สังคม” ขึ้นคู่ขนานกับระบบวิชาการแบบที่มีอยู่แล้วซึ่งอาจเรียกว่าระบบงานวิชาการสายนานาชาติภายใต้หลักการว่า วิชาการทั้งสองสายมีความสำคัญเท่าเทียมกันและควรมีการจัดการให้เกื้อกูลซึ่งกันและกัน


ผมขอเสนอให้ประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของระบบวิชาการสายรับใช้สังคมในแผนยุทธศาสตร์ คำนึงถึงประเด็นหลัก 6 ประเด็น ต่อไปนี้เป็นอย่างน้อยโดยที่ทั้ง 6 ประเด็น นี้เกี่ยวพันกันอย่างแยกกันไม่ออก


  1. การมีทุนสนับสนุน และมีระบบการจัดการทุนวิจัยสายรับใช้สังคม

  2. ระบบสร้างความเข้มแข็งของนักวิชาการสายรับใช้สังคม

  3. การจัดการภายในหน่วยงานที่ทำงานวิจัยรับใช้สังคม ทั้งกิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

  4. ระบบการเผยแพร่ผลงานวิชาการรับใช้สังคม

  5. ระบบการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับชุมชนหรือสังคม

  6. การจัดการระดับประเทศ

Article Details

How to Cite
[1]
พานิช ว. 2018. ทศวรรษเพื่อการพัฒนาระบบงานวิชาการรับใช้สังคม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 1 (ก.ค. 2018), 1–7.
บท
บทความวิจัย

References

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. 2554. ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. โรงพิมพ์ Open Worlds, กรุงเทพ ฯ. 49 หน้า.

วิจารณ์. 2553. วิชาการรับใช้สังคม. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: http://www.goto know.org/ posts /374219 (27 เมษายน 2556).

วิจารณ์. 2553-ปัจจุบัน. วิชาการรับใช้สังคม. (ระบบ ออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. goto know.org/posts?tag=วิชาการสายรับใช้สังคมไทย (27 เมษายน 2556).

วิจารณ์. 2554. วิชาการรับใช้สังคม. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.goto know.org/ posts/440436 (27 เมษายน 2556).

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 2555. ทุนวิจัยและพัฒนาทุนวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.trf.or.th (27 เมษายน 2556).

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 2556. ทุนวิจัยมุ่งเป้าและทุน วช. เพื่อพัฒนาประเทศ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.nrct.go.th (27 เมษายน 2556).