การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ที่ผลิต โดยกลุ่มสตรีเรือนสมุนไพรอ่าวน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมะพร้าวได้สูง การผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ในระดับชุมชนส่วนใหญ่อาศัยวิธีการหมัก เนื่องจากใช้ต้นทุนการผลิตต่ำและมีขั้นตอนไม่ซับซ้อน จากการสังเกตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ที่ผลิตจากกลุ่มสตรีเรือนสมุนไพรอ่าวน้อย และจากชุมชนอื่นในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่าคุณภาพของน้ำมันมะพร้าวทั้งด้านสี ความขุ่น และความชื้นไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้ราคาที่ขายได้ต่ำ งานวิจัยนี้จึงมุ่งปรับปรุงคุณภาพน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ระดับชุมชน โดยการกำจัดสี ความขุ่น และความชื้นในน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ จากผลการทดลอง พบว่าค่าสีและความขุ่นในน้ำมันมะพร้าวลดลง เมื่อกรองน้ำมันมะพร้าว ผ่านผ้ากรองโพลีเอทิลีน (PE) ที่มีขนาดรูพรุน 1 ไมโครเมตร และสามารถลดความชื้นในน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ได้ โดยการใส่เกลือโซเดียมคลอไรด์ร้อยละ 2 โดยน้ำหนัก แช่ไว้ 24 ชั่วโมง จะได้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ที่ได้ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าวในส่วนของสี ความขุ่น และปริมาณความชื้น
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2520. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว มอก. 203-2520. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ.
นุกูล พิกุล และญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง. 2556. การวางแผนกลยุทธ์การตลาดแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนของกลุ่มผู้ผลิตตุ๊กตา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 141-151.
AOCS. 1989. Official Method Ca 2b-38. Moisture and Volatile Matter: Hot-Plate Method. AOCS, Champaign, IL.
Fabian M. Dayrit, Olivia Erin M. Buenafe, Edward T. Chainani, Ian Mitchelle S. de Vera, Ian Ken D. Dimzon, Estrella G. Gonzales and Jaclyn Elizabeth R. Santos 2007 Standards for essential composition and quality factors of commercial virgin coconut oil and its differentiation from RBD coconut oil and copra oil. Philippine Journal of Science. 136(2): 119-129.