ตัวชี้วัดและการจัดกลุ่มหมู่บ้านชนบทเพื่อความเหมาะสม ในการจัดฝึกอบรมโครงการเกษตร

Main Article Content

พหล ศักดิ์คะทัศน์
สุรชัย กังวล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ตัวชี้วัดที่เหมาะสมในการจัดกลุ่มหมู่บ้านชนบทตามลักษณะการทำการเกษตร 2) เพื่อจัดกลุ่มหมู่บ้านชนบท และ 3) เพื่อจัดประเภทการฝึกอบรมโครงการเกษตรให้เหมาะสมกับหมู่บ้านชนบท ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ แม่ริม สารภี ดอยสะเก็ด และสันทราย รวม 60 หมู่บ้าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์การจัดกลุ่ม (cluster analysis) ผลจากวิจัย พบว่าตัวชี้วัดที่ใช้จัดกลุ่มหมู่บ้านชนบทมี 7 ตัวชี้วัด คือ 1) ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้าน 2) ร้อยละของพื้นที่ที่ทำนาหรือปลูกพืชไร่ 3) ร้อยละของพื้นที่ที่เป็นสวนผลไม้ 4) ร้อยละของพื้นที่ที่ปลูกผัก 5) ร้อยละของพื้นที่ที่ปลูกไม้ดอก 6) จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และ 7) ร้อยละของพื้นที่ที่ทำเกษตรเคมี ในการจัดกลุ่มหมู่บ้านสามารถจัดกลุ่มได้ 2 กลุ่ม  คือ 1) หมู่บ้านที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่เนินหรือที่ดอน เป็นสวนผลไม้ ปลูกไม้ดอก และเลี้ยงสัตว์ มีจำนวน 20 หมู่บ้าน โครงการอบรมที่เหมาะสม ได้แก่ การผลิตปุ๋ยและสารอินทรีย์ การขยายพันธุ์พืช การบำรุงรักษาไม้ผล การตัดแต่งกิ่ง การจัดการศัตรูพืช การเก็บรักษาผลผลิต การผลิตอาหารสัตว์ การขยายพันธุ์สัตว์ และ 2) หมู่บ้านที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มและราบ ทำนา ปลูกผัก และทำเกษตรแบบเคมี มีจำนวน 40 หมู่บ้าน โดยมีโครงการอบรมที่เหมาะสม ได้แก่ การผลิตปุ๋ยและสารอินทรีย์ การใช้สารอินทรีย์ การขยายพันธุ์พืช การจัดการศัตรูพืชและการเก็บรักษาผลผลิต

Article Details

How to Cite
[1]
ศักดิ์คะทัศน์ พ. และ กังวล ส. 2018. ตัวชี้วัดและการจัดกลุ่มหมู่บ้านชนบทเพื่อความเหมาะสม ในการจัดฝึกอบรมโครงการเกษตร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 3 (ก.ค. 2018), 285–291.
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2553. ปัญหาการเกษตรของไทย. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2552. การส่งเสริมการเกษตร. โรงพิมพ์กระทรวงมหาดไทย, กรุงเทพฯ.

กิติมา อมรทัต. 2542. การฝึกอบรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม: นโยบายและข้อปฏิบัติสำหรับการพัฒนาแบบยั่งยืน. สำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, กรุงเทพฯ.

สมนึก ปัญญาสิงห์. 2557. ตัวแบบการจัดการการพัฒนาเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 11-22.