แนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่

Main Article Content

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์
อุบลรัตน์ หยาใส่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบาย แผนงาน และโครงการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่  สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของโครงการฯ และพื้นที่สีเขียวประเภทอื่น ๆ  ความพึงพอใจต่อสิ่งบริการของสวนสาธารณะ  ตลอดจนศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน  โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ 504 ตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ 20 ตัวอย่าง  เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสำรวจภาคสนามแบบตรวจรายการ  ผลการศึกษาพบว่าเทศบาลนครเชียงใหม่ มี 3 นโยบาย 2 แผนงาน และ 18 โครงการ  ผลประเมินประสิทธิภาพโครงการฯ และพื้นที่ สีเขียวประเภทอื่น ๆ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  ผลการประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งบริการสวนสาธารณะโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ คือ ขาดการประชาสัมพันธ์  สิ่งอำนวยความสะดวกไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์มาตรฐาน  ขาดการบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์และภูมิทัศน์  ขาดแคลนบุคลากรและเทคโนโลยีองค์ความรู้  แนวทางการพัฒนา คือ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนให้มีบทบาทต่อการขจัดปัญหาอุปสรรคดังกล่าว  ตลอดจนการนำผลลัพธ์จากงานวิจัยนี้ไปศึกษาวิจัยต่อยอดสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
[1]
ตั้งกิตติภาภรณ์ จ. และ หยาใส่ อ. 2018. แนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 3 (ก.ค. 2018), 233–243.
บท
บทความวิจัย

References

ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ เจริญเมือง. 2545. เมืองยั่งยืน: แนวคิดและประสบการณ์ของตะวันตก. โรงพิมพ์แสงศิลป์, เชียงใหม่.

ฝ่ายสวนสาธารณะ ส่วนการโยธา สำนักการช่าง เทศบาลนครเชียงใหม่. 2556. ประเภทของพื้นที่สีเขียวในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่, เชียงใหม่.

พวงเพชร์ ธนสิน. 2552. การเสริมสร้างภูมิทัศน์ในเทศบาลนครเชียงใหม่. ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ศักดิธัช เสริมศรี. 2554. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในพื้นที่สาธารณะเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2548. คู่มือการพัฒนาพื้นที่สีเขียว. โทนคัลเลอร์, เชียงใหม่.

สุวจี แตงอ่อน. 2557. แนวทางพัฒนาชุมชนต้นตาลเพื่อเตรียมรับภาวะโลกร้อนในแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 23-35.