ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเข้าถึงทรัพยากร เขา – นา – เล ในนครศรีธรรมราช The History of a Struggle for access to Kao – Na – Lae Resources

ผู้แต่ง

  • มานะ ขุนวีช่วย

คำสำคัญ:

การต่อสู้เพื่อเข้าถึงทรัพยากร, ชุมชนคีรีวง, ชุมชนเนินธัมมัง, ชุมชนในถุ้ง

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเข้าถึงทรัพยากร เขา–นา–เล ใน
นครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของชุมชนในพื้นที่เขาควน พื้นที่
ราบ พื้นที่ชายฝั่งทะเล ในนครศรีธรรมราช และศึกษาถึงการต่อสู้แย่งชิงทรัพยากร ใน
พื้นที่เขาควน พื้นที่ราบ พื้นที่ชายฝั่งทะเลในนครศรีธรรมราช โดยศึกษา ชุมชนคีรีวง
อำเภอลานสกา ชุมชนเนินธัมมัง อำเภอเชียรใหญ่ และชุมชนในถุ้ง อำเภอท่าศาลา
ซึ่งผู้วิจัยใช้เป็นพื้นที่ตัวแทนชุมชนในพื้นที่เขาควน พื้นที่ราบ และพื้นที่ชายฝั่งทะเล
ตามลำดับ
มีวิธีการศึกษาโดยพิจารณาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาว
บ้าน ทั้งที่เป็นบทความทางวิชาการ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมถึงเอกสารที่
อยู่ในชุมชน เช่น เอกสารขององค์การบริหารส่วนตำบล เอกสารส่วนบุคคล เช่น หนังสือ
งานศพ และการศึกษาภาคสนาม โดยการสังเกตและสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการศึกษาพบว่าพัฒนาการของชุมชนทั้งสามพื้นที่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน คือ
เมื่อใช้ระบบเศรษฐกิจเป็นตัววัดพบว่าจุดเปลี่ยนของพัฒนาการการผลิตที่สำคัญเกิด
ขึ้นในช่วงหลัง พ.ศ. 2500 โดยช่วงก่อนนั้นยังมีการผลิตแบบยังชีพและการใช้ผลผลิต
ที่แต่ละคนผลิตได้แลกเปลี่ยนกัน ส่วนช่วงหลังทศวรรษ 2500 เป็นต้นมามีการพัฒนา
ระบบการผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยการเพิ่มทั้งพื้นที่การผลิตและเทคโนโลยี
ประเด็นการต่อสู้เพื่อเข้าถึงทรัพยากร ช่วงก่อน พ.ศ.2505 ปรากฏว่าชุมชนทั้ง

สามพื้นที่มีลักษณะการต่อสู้เพื่อเข้าถึงทรัพยากรที่ใกล้เคียงกัน คือ การต่อสู้กับสัตว์
ป่า โรคภัยไข้เจ็บและภัยธรรมชาติ วิธีการต่อสู้ที่พบในช่วงแรก คือ การสร้างเครือข่าย
ชาวบ้าน การใช้วัฒนธรรมนักเลง การใช้หลักการพึ่งพาตนเอง และการใช้สังคมเครือ
ญาติเพื่อการเข้าถึงทรัพยากร
    ช่วงหลัง พ.ศ.2505 การต่อสู้เพื่อเข้าถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของ
ชุมชนทั้งสามพื้นที่มีความแตกต่างกัน ที่น่าสนใจ คือ ชุมชนคีรีวง ใช้วิธีการรวมกลุ่ม
ในลักษณะขององค์กรชุมชน ชุมชน
    เนินธัมมังใช้ลักษณะของการสร้างกลุ่มอาชีพและอาศัยทรัพยากรป่าพรุเป็นฐาน
การผลิตที่สำคัญ ชุมชนในถุ้งมีลักษณะของการเข้าถึงทรัพยากรด้วยการสร้างเครือข่าย
กับภายนอกที่เห็นเด่นชัดที่สุด คือ การรวมตัวเป็นสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้
ผลการต่อสู้เพื่อเข้าถึงทรัพยากรนั้นพบว่าชุมชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้มากขึ้นแต่
ก็ยังเข้าถึงได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านความเข้มแข็งของชุมชน กรรมสิทธิ์
และปัจจัยการผลิตที่ต่างกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-10-01