พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลาม ในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)

ผู้แต่ง

  • อามีน ลอนา ดุษฎีบัณทิต หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ประวัติศาสตร์นิพนธ์อิสลาม, รัฐจารตี, ชนชั้นนำทางสังคมไทย, กลุ่มผู้นิพนธ์ประวัติศาสตร์อิสลาม, ศาสดามุฮัมมัด, Islamic historiography, pre-nation state, Thai elite, authors of Islamic history, prophet Muhammad

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งสำรวจพัฒนาการของการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย ตั้งแต่ยุครัฐจารีต-พ.ศ. 2511 โดยสำรวจถึงงานนิพนธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อิสลาม ที่ปรากฏอยู่ในหมู่ชนชั้นนำทางสังคมไทย และวิเคราะห์ถึงบริบททางสังคมในแต่ละ ยุคสมัยที่ส่งผลต่องานเขียนในแต่ละช่วง

การเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทยได้แบ่งช่วงเวลาของการเขียนออกเป็น 3 ช่วง ซึ่งประกอบไปด้วย งานนิพนธ์เรื่องประวัติศาสตร์อิสลามจากยุครัฐจารีตหรือ ก่อนปฏิวัติปี พ.ศ. 2475, งานนิพนธ์ยุคหลังปฏิวัติปี พ.ศ. 2475 และงานนิพนธ์ยุคหลังปี พ.ศ. 2510

จากพัฒนาการทั้งสามช่วงข้างต้น พบว่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์อิสลามที่ถูก เขียนขึ้นมุ่งเน้นไปยังประวัติศาสตร์อิสลามในยุคสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัดเป็นหลัก โดยที่เนื้อเรื่องมีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปตามจุดประสงค์และบริบททางสังคมของ แต่ละยุคสมัย งานนิพนธ์ในยุครัฐจารีตถูกเขียนขึ้นภายใต้บริบททางความคิดในเรื่อง เวลา, ลักษณะของผู้นำและศาสนาในหมู่ชนชั้นนำไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากวิทยาการ ของโลกตะวันตกที่เริ่มเข้าสู่สังคมไทย ประวัติศาสตร์อิสลามที่ถูกเขียนในช่วงนี้จึง สะท้อนทัศนคติของผู้นิพนธ์ที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ขณะที่ งานนิพนธ์ในช่วงที่สองซึ่งเกิดขึ้นหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ได้พัฒนาเนื้อเรื่อง ของประวัติศาสตร์อิสลามไปสู่เนื้อเรื่องที่เน้นความคิดแบบชาตินิยมมากขึ้น สอดรับ กับบริบทในสังคมไทยขณะนั้นที่แนวคิดชาตินิยมกำลังเบ่งบาน อย่างไรก็ตามการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกครั้งในทศวรรษ 2510 เมื่อผู้นิพนธ์ ประวัติศาสตร์อิสลามในช่วงนี้พัฒนาเนื้อเรื่องของประวัติศาสตร์อิสลามได้กว้างขึ้น กว่าเดิม จากประวัติศาสตร์ที่เคยอิงเนื้อเรื่องของชนชาติและศาสนา มาเป็นประวัติศาสตร์ อารยธรรมที่เสนอเรื่องราวของชนชาติต่างๆ ตลอดจนแง่มุมที่แปลกใหม่ขึ้น เช่น เศรษฐกจิ วัฒนธรรม และพลวัตของอารยธรรมอิสลาม

 

The development of Writing on Isalamic history in Thai society (from traditional state-1968)

Amin Lona

Doctorate student Program in Cultural Studies, Thaksin University

This Study investigates the progress of Islamic historical writing in Thai society from traditional state -1968. Research methodologies set out by investigating the literatures on Thai Islamic history, which appeared in the writings Thai elite, and analyzing the social context in different ages towards its influence on Islamic historic writings in Thailand.

Islamic historic writing in Thai society can be classified into 3 periods; the age of pre-nation state or pre-revolution writings in the year of 2475, the post-revolution writings after 2475, and modern historic writings since 2510. Regarding the progress of writing over aforementioned ages, the writings mainly emphasized the aspect of Islamic history regarding the age of prophet Muhammad; the historic substance are different in terms of intention and context of time. The historical literatures in pre-nation state age are written in the context of thought, leadership quality, and the alteration of religious aspect among the group of Thai elite reflecting influence and imparting of knowledge by western culture. For the second period, as the flourish age of Thai nationalism, the progress of historical literatures of Islam in Thai society after 2475 or post-revolution intensively purpose the religious aspects toward ideology and political attitude of nationalism. Nevertheless, in 2510, the Islamic historic writings are progressed to enhance the wider areas of historic writing and content; the aspects of culture from different nationalities including the economic context and dynamic of Islamic civilization is significantly predominant than the previous content based on nationality and religion.

Downloads