พลวัตการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรป่าพรุควนเคร็ง

ผู้แต่ง

  • นฤมล ขุนวีช่วย อาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

พลวัตการใช้ทรัพยากร, ป่าพรุควนเคร็ง, Dynamic of Resource Utilization, Swamp Kuan Khreng

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องพลวัตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าพรุควนเคร็ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพลวัตการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าพรุตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากผล การศึกษาพบว่า “พรุควนเคร็ง” เป็นแหล่งป่าของชุมชนที่คนสองลุ่มน้ำ ทั้งลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลาและลุ่มน้ำปากพนังใช้ประโยชน์ร่วมกันมาตั้งแต่อดีตในการใช้ไม้และ ของป่า ตลอดจนเป็นแหล่งพันธุ์ปลาที่สมบูรณ์มานาน พลวัตการใช้ประโยชน์ทรัพยากร ป่าพรุควนเคร็งแบ่งออกเป็น 3 ยุคด้วยกัน คือ ยุคที่ 1 ยุคป่าเขียว (ก่อนพ.ศ. 2505) ยุคหลังวาตภัย (พ.ศ. 2505-2539) และยุคเกษตรเชิงพาณิชย์ (พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน) ลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ การเก็บกระจูด การสานกระจูด การใช้ไม้ ของป่า การหา สัตว์น้ำ การทำนา สวนยางพารา และปาลม์ น้ำ มัน ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่แตกต่าง กันในแต่ละยุคขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยภายในชุมชน ได้แก่ ฐานทรัพยากรป่า พรุ และกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน 2) ปัจจัยภายนอกชุมชน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง จากนโยบายของภาครัฐ และการเข้ามาขององค์กรและหน่วยงานภายนอก สำหรับ สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรป่าพรุควนเคร็งจำแนกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่หากินกับ ทรัพยากรในป่าพรุอย่างยั่งยืน เช่น กลุ่มหาของป่า จับสัตว์น้ำ ถอนกระจูด กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่หากินกับการทำลายทรัพยากร ได้แก่ กลุ่มที่เข้าไปตัดไม้ในป่าออกมาใช้ ประโยชน์และค้าขาย และกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่ไม่สนใจหากินกับทรัพยากรแต่ต้องการ ครอบครอง ได้แก่ กลุ่มที่เข้าไปครอบครองที่ดินป่าพรุเพื่อการเกษตร หรือเพื่อผล ประโยชน์อื่นๆ ดังนั้นกลุ่มคนทั้ง 3 กลุ่ม จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน โดยความสัมพันธ์เป็นไปทั้งในรูปแบบของการพึ่งพาอาศัย และความขัดแย้ง ซึ่งในความสัมพันธ์ดังกล่าวได้นำไปสู่กระบวนการปรับตัวของชุมชน เป็นการปรับตัวเพื่อแสวงหา ทางออกให้กับตนเองให้มีชีวิตอยู่รอดได้ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยอยู่บนฐานการผลิตที่ต้องอาศัยทรัพยากรป่าพรุ และการสนับสนุนจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง

 

The Dynamic of Resource Utilization in Swamp Kuan Khreng

Narumol Khunweechuay

This study aims to investigate the dynamic of resource utilization in swamp Kuan Khreng from the beginning of the settlement. The result of the study shows that “Swamp Kuan Khreng” the people of two basins are Both of Songkhla lake basins and Pak Panang basins use of peat lands resources together past, uses in many ways, wild material, wood and fishing. The dynamic of resource utilization in swamp Kuan Khreng divided into three eras; 1) Eras the forest green (before AD 1962), 2) Eras after the storm (AD 1962-1996), 3) Eras the commercial agriculture (1997- Currently). The utilization of peat lands resources, harvesting of weaving materials, weaving handicraft, wild material, wood, fishing, rice farming, rubber and palm oil. There are two factors that have caused the changes of peat lands resources utilization. 1) The internal factor concerning the peat lands resource and the learning process of the people in managing the sources of the peat forest. 2) The external factor which is based on the government’s policy in the matters of natural resources and private agencies. The allocation of the rights to access the swamp Kuan Khreng, which can be divided into three groups; occupation groups using peat lands resources sustainable such as wild material, fishing, harvesting of weaving materials, the second group is those who live with the destruction of the resource such as the group into the forest to cut wood exploitation and trading, and the third group is the group that does not care resources but want to occupy, include the group into occupy peat lands for agriculture or to other benefits. Among the 3 groups are closely linked to each other, which has the relationship between dependency and conflict, such relationships have led to the adaptation of the community among the currents of changing circumstances, by based on the produce relies to peat lands resources and support from the relevant agencies.

Downloads