การศึกษาการกระจายตัวของวัดบนคาบสมุทรสทิงพระที่ปรากฏในแผนที่แสดงเขตกัลปนาวัดในสมัยอยุธยาด้วยระบบภูมิสารสนเทศ
คำสำคัญ:
คาบสมุทรสทิงพระ, แผนที่กัลปนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการกระจายตัวของวัดที่ปรากฏในแผนที่กัลปนาวัดบนคาบสุมทรสทิงพระในสมัยอยุธยาที่เขียนขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2223-พ.ศ. 2142 ด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System : GPS) และประมวลผลงานแผนที่ปัจจุบันด้วยโปรแกรม ArcMap เวอร์ชั่น 9.2 ผลการศึกษาสามารถระบุพิกัดได้ 62 วัดจาก 69 วัด การกระจายตัวของวัดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่หนึ่ง กระจายตัวอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรสทิงพระบริเวณอำเภอหัวไทร และอำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 วัด โดยกระจายอยู่ตามแนวเทือกเขาพระบาท รอยต่ออำเภอเชียรใหญ่ และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 3 วัด และในพื้นที่ราบระหว่างเขาพระบาทกับสทิงพระ 1 วัด กลุ่มที่สอง กระจายตัวอยู่ตอนกลางของคาบสมุทรบริเวณอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จำนวน 56 วัด ในกลุ่มนี้เป็นเขตที่การกระจายตัวหนาแน่นมากที่สุด โดยการกระจายตัวมี 2 ลักษณะคือ กระจายตัวเป็นแนวเส้นตรงตามแนวถนนสายหลักของคาบสมุทรที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกใกล้กับทะเลอ่าวไทย และลักษณะที่ 2 คือ กระจายตัวตามแนวขอบทะเลสาบทางด้านตะวันตกของคาบสมุทร กลุ่มที่สามกระจายตัวอยู่ทางตอนล่างของคาบสมุทรบริเวณอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จำนวน 2 วัด โดยมีวัดชะแล้ ในเขตอำเภอสิงหนครอยู่ทางใต้สุด เมื่อพิจารณาจากการกระจายตัวของวัดชี้ให้เห็นว่าในสมัยอยุธยาบริเวณสทิงพระเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรนับถือพุทธศาสนาอาศัยอยู่หนาแน่น มีวัดพะโคะเป็นศูนย์กลางการปกครอง ตั้งแต่เขาพระบาท อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ถึงเขตเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยภาพรวมการกระจายตัวของวัดและชุมชนเป็นการตั้งถิ่นฐานตามแนวยาวของคาบสมุทรสทิงพระ
References
บรรจง ทองสร้าง. (2549). การส่งเสริมและอนุรักษ์กระบวนการผลิตภาชนะดินเผาบนคาบสมุทรสทิงพระด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. รายงานการวิจัย. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
บรรจง ทองสร้าง. (2555). การศึกษาพัฒนาการทางกายภาพของทะเลสาบสงขลาและคาบสมุทรสทิงพระจากแผนที่โบราณและจากการกกำหนดอายุจากซากฟอสซิลด้วยเทคนิคคาร์บอน – 14. รายงานการวิจัย. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ชาญณรงค์ เที่ยงธรรม. (2544). ศึกษาแผนที่ภาพกัลปนาวัดพะโคะ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
นันทา สุตกุล. แปล. (2513). เอกสารของฮอลันดาสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2151-2163 และ 2167 – 2185. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ปวริศท์ ผ่องเจริญ. (2553). กลยุทธ์การลดต้นทุนการขนส่งทางรถบรรทุก. รายงานการวิจัย. ชลบุรี : โรงเรียนเทคโนโลยีศรีราชา.
มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา. (2544). รายงานราชการมณฑลนครศรีธรรมราช (10 มิถุนายน ร.ศ. 113-5 ตุลาคม ร.ศ. 129). หจก. เอมี่เทรดดิ้ง กทม. สงขลา : มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา.
วิลาวรรณ ภมรสุวรรณ. (2551). แนวคิดเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์และเอกลักษณ์ชุมชน. เอกสารอัดสำเนา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.
สมคิด ทองสง. (2535). “พัฒนาการของชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา”. ทักษิณคดี. วารสารปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม – มีนาคม พ.ศ. 2335-2536. สงขลา : สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้. (2542). ทะเลสาบสงขลา. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมไทยธนาคารไทยพาณิชย์.
สารูป ฤทธิ์ชู. (2551). ตามรอยสำนักเขาอ้อ สรรพยาบรรพตปักษ์ใต้. รายงนการวิจัย. พัทลุง : หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง.
สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์. (ม.ป.ป.). พุทธศาสนาแถบลุ่มทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันออกสมัยกรุงศรีอยุธยา. รายงานการวิจัย. สงขลา : สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.
สุเพชร จิรขจรกุล. (2549). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการใช้โปรแกรม ArcGIS Destop เวอร์ชั่น 9.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
สุภัทร สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง. (2530). ประวัติศาสตร์ตระกูล สุลต่าน สุลัยมา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
สุวัฒน์ ติยะไพรัช และจิรศักดิ์ เจริญมิตร. (2546). ธรณีวิทยาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามาตราส่วน 1 : 250,000. รายงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี.
อมรา ศรีสุชาติ. (2543). ภาคใต้ เมืองท่ากับการค้าโพ้นทะเลในสมัยโบราณ. เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง ภูมิศาสตร์กับวิถีชีวิตไทย 12-14 กันยายน 2543. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร.
Neal. F.A. (1840). Narrative of a Residece in Siam” White Lotus. Bangkok : Thailand.
Smyth. H.W. (1894). Five Years in Siam (1891-1896). White Lotus. Bangkok : Thailand.
Wheatley. P. (1961). The Golden Khersonese. Kuala Lumpur : University of Malaya Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2015 วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ (Journal of Humanities and Social Sciences, Thaksin University)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.