ถอดบทเรียนความสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการขยะของ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศเยอรมนี

ผู้แต่ง

  • วรัชญา เผือกเดช -

คำสำคัญ:

ถอดบทเรียน, เทคโนโลยี, การบริหารจัดการขยะ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  คือ  เพื่อถอดบทเรียนการใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการขยะ  และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยหลักของความสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการขยะของประเทศออสเตรเลีย  และประเทศเยอรมนี  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ซึ่งเครื่องมือในการวิจัยคือ  เอกสาร  ตำรา  เอกสารอิเล็กทรอนิกส์  และบทความวิชาการต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  การวิเคราะห์ใช้วิธีการวิเคราะห์หาแก่นสาระ  (Thematic  Analysis)  และการวิเคราะห์ข้อมูลในเอกสาร  (Document  Analysis) 

          ผลการศึกษาพบว่า  ทั้ง  2  ประเทศ  มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการขยะ  ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง  ผ่านนวัตกรรมต่าง ๆ  ภายใต้โครงการที่ภาครัฐได้มีส่วนร่วมกับภาคเอกชน  องค์กรไม่แสวงหากำไร  ได้แก่  เทคโนโลยีของศูนย์  SMART  (UNSW  Centre  for  Sustainable  Material  Research  and  Technology)  การใช้เทคโนโลยีผ่านโครงการ  Smarter,  Cleaner  Sydney  Harbour  โครงการ  Emerging Technology  Testbed  ในประเทศออสเตรเลีย  รวมไปถึงระบบการมัดจำคืนเงินบรรจุภัณฑ์  หรือ  Pfand  ในประเทศเยอรมนี  เป็นการอำนวยความสะดวกในการคัดแยกขยะมูลฝอยได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ  ผ่านฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับขยะในทุกรูปแบบทำให้สามารถจัดสรรขยะที่เหมาะสมในแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม  เป็นการประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ  ขององค์กร  เพราะฉะนั้นการบริหารงานในการจัดการขยะจึงเป็นหน้าที่สำคัญของหน่วยงานภาครัฐ  หากมีการวางแผนการดำเนินงานที่ดีเป้าหมายที่วางไว้จะประสบความสำเร็จ  ดังนั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน  ประชาชนเป็นผู้สร้างขยะและเป็นผู้ที่สามารถมีบทบาทสำคัญในการลดปริมาณขยะและส่งเสริมการรีไซเคิล  ช่วยให้การจัดการขยะเป็นไปอย่างรวดเร็วผ่านวิธีการส่งเสริมที่หลากหลายวิธี  ได้แก่  การให้ความรู้และสร้างความตระหนัก  การจัดตั้งระบบการคัดแยกขยะในชุมชน  การสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชน  และการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

Author Biography

วรัชญา เผือกเดช, -

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

References

นัฐกานต์ ขำยัง. (2566). การจัดการขยะพลาสติก : กรณีศึกษาราชอาณาจักรสวีเดน. สืบค้น

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567, จาก https://lawforasean.krisdika.go.th.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2563). 6 ประเทศตัวอย่างกับ

วิธีการจัดการปัญหาพลาสติกล้นเมือง. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567, จาก

https://erdi.cmu.ac.th/?p=2991.

สุจิตรา วาสนาดำรงดี. (2563). เรียนรู้ประสบการณ์การจัดขยะบรรจุภัณฑ์ในประเทศเยอรมนี

“ระบบความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR) และระบบมัดจำคืนเงิน (DRS)”,

วารสารสิ่งแวดล้อม. 24(3), 1-12.

อนรรฆพร ลายวิเศษ. (2565). เยอรมนีทำอย่างไรถึงเป็นประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก.

สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2567, จาก https://urbancreature.co/germany-worlds-

best-recycler/.

Hossain Rumana. (2022). Full circle : Challenges and prospects for plastic

Waste management in Australia to achieve circular economy. Journal

of Cleaner Production. 368(133127), 1 - 25.

Maya Kasmita. (2024). Technology Development in Waste Management in

Makassar City, International Conference on Humanities Education,

Law and Social Sciences. 3(1), 1114 – 1125. Retrived July 9,2024

,from https://knepublishing.com/index.php/KnE-Social/index.

Nichols W. and Smith N. (2019). Waste Generation and Recycling Indices

Overview and findings, Verisk Maplecroft. 1(1), 1-17.

Shamshad Khan. (2022). Technologies for municipal solid waste management:

Current status, challenges, and future perspectives, Chemosphere.

(1), 132403.

Tobin Steven. (2022). Regional Cooperation in Waste Management : Examining

Australia’s Experience with Inter - municipal Cooperative Partnerships,

Sustainability. 14(1578), 1-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29