แนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผู้แต่ง

  • สายฝน จิตนุพงศ์ อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • รุ่งรวี จิตภักดี คณะสหวิทยาการและการประกอบการ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์ สำนักวิชาครุศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา, การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์, การศึกษาความเป็นไปได้, ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์, พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, Museum management, Feasibility Study, Economic Cost Benefit Analysis, MAHA CHAKRI SIRINDHORN Natural History Museum, Walailak University

บทคัดย่อ

การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ประเภทใกล้เคียง เป็นที่รู้จักในระดับประเทศของไทย และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเฉพาะเจาะจงกลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ และรับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ จำนวน 8 แห่ง  จากการศึกษาพบว่า การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์สามารถแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) การบริหารจัดการโดยรัฐ ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายไม่มุ่งเน้นเก็บค่าบริการเข้าชม แต่รัฐต้องแบกรับค่าใช้จ่ายซึ่งมีความเสี่ยงในการไม่มีงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 2) การบริหารจัดการโดยเอกชน ประชาชนเข้าถึงได้โดยต้องเสียค่าบริการ มุ่งเน้นความบันเทิงและสนุกสนานมากกว่าการให้ความรู้ทางวิชาการ และ 3) การบริหารจัดการแบบกึ่ง (ตนเอง + Outsource) มีแนวทางจัดหารายได้สนับสนุนการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ด้วยการจัดสรรพื้นที่หรือเลือกเนื้องานบางส่วนให้เอกชนเช่าหรือรับดำเนินการเพื่อหารายได้และลดค่าใช้จ่าย  โดยสามารถเสนอแนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่เหมาะสม คือ การบริหารจัดการแบบกึ่ง เพราะมหาวิทยาลัยสามารถจัดหารายได้จากการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดรายได้ และกิจกรรมบริการวิชาการเพื่อเพิ่มรายได้ การลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค เพื่อผู้ใช้บริการไม่ต้องแบกรับค่าบริการเข้าชมที่สูงจนเกินไป ส่งผลต่อการลดทอนโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้

The study on management guidelines for MAHA CHAKRI SIRINDHORN Natural History Museum, Walailak University has the following objectives 1)to conduct a comparative study of the management of similar types of museums that are well- known at the national level of in Thailand and 2) to propose effective management guidelines for the MAHA CHAKRI SIRINDHORN Natural History Museum, Walailak University. Effective Walailak University. The research employed qualitative research methods using in-depth interviews with selected groups of executives and officials from eight museum, who have authority, duties. and knowledge and understanding related to museum formats and management and be aware of various problems in managing museums well.

          The study found that museum management can be categorized into 3 models: 1) state management, in which public access is easy with minimum entrance fees, but the state must bear the costs, risking a lack of continuous budget support, 2) private management: public access is granted through paid services, with a focus on entertainment and enjoyment rather than academic knowledge, 3) Semi-management (self+outsource) involving generating income to support the museum's operations by allocating space or selecting certain works to be rented or received by the private sector to generate income and reduce costs.The recommended management approach for the MAHA CHAKRI SIRINDHORN Natural History Museum, Walailak University is the semi-managed model because the university can generate income by managing the area. Revenue and academic service activities to increase income as well as reducing utility costs, ensuring that visitors are not burdened with excessively high entrance fees, which could limit access to this valuable educational resource.

References

จิรา จงกล. (2557). พิพิธภัณฑสถานวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.

จันทนา จันทโร และศิริจันทร์ ทองประเสริฐ. (2540). การศึกษาความเป็นไปได้: โครงการด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี และคณะ. (2540). คู่มือการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ: กรณีศึกษาโครงการลงทุนเอกชนและโครงการอสังหาริมทรัพย์. ปทุมธานี: พี พรินติ้งกรุ๊ป.

ชัยยศ สันติวงศ์. (2533). การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2565). ศูนย์เรียนรู้เพื่อทุกคน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐิณี กาญจนาภรณ์ และชนิดา ล้ำทวีไพศาล. (2564). พิพิธภัณฑ์ในบทบาทพื้นที่ทางสังคม: ความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในพิพิธภัณฑ์, (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

รุ่งรวี จิตภักดี. (2565) . พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. กรุงเทพฯ : อะวา 2013.

รุ่งรวี จิตภักดี และคณะ. (2564) . การศึกษาเชิงเปรียบเทียบเพื่อออกแบบโมเดลการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (รายงานผลการวิจัย). นครศรีธรรรมราช : ศูนย์ประสานงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยวลัย (อพ.สธ.-มวล.).

สาคร สุขศรีวงศ์. (2560). การจัดการ : จากมุมมองนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จี พี ไซเบอร์ พริ้นท์. สิงขร แก้วมรกต และคณะ. (2555). การศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนโครงการ SUP Plaza

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.

สุจารีย์ จรัสด้วง. (2552) . การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เเห่งขาติ. (2558) . คู่มือการบริหารความเสี่ยง อพวช. กรุงเทพฯ : องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ.

อารียา บุญทวี. (2556). การพัฒนาการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. (โครงการวิจัยขับเคลื่อน งานวิจัยเชิงพื้นที่). (รายงานผลการวิจัย). ฉะเชิงเทรา : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

Bedford, L. (2001). Storytelling The Real Work of Museums. Retrieved February 4, 2024, from https://doi.org/10.1111/j.2151-6952.2001.tb00027.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31