บทบาทรัฐสภาในการพัฒนากฎหมายที่เสริมสร้างขีดความสามารถด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • เฉลิมศักดิ์ บุญนำ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • สุนิสา เชาวน์เมธากิจ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำสำคัญ:

บทบาทรัฐสภา, การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, กฎหมาย, คณะกรรมาธิการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง บทบาทรัฐสภาในการพัฒนากฎหมายที่เสริมสร้างขีดความสามารถด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานผู้รับผิดชอบในเชิงนโยบายต่อรัฐสภา และ 2) เพื่อเสนอแนะบทบาทรัฐสภาต่อการพัฒนากฎหมาย นโยบายภาครัฐที่เสริมสร้างขีดความสามารถด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากหน่วยงานภาครัฐ คือ ทนายความ นิติกร อัยการ ผู้พิพากษา นักวิชาการที่มีประสบการณ์ด้านกฎหมายและด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หน่วยงานภาคธุรกิจ คือ มัคคุเทศก์ท้องถิ่น ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว/บริษัททัวร์ ร้านค้า/ของที่ระลึก พนักงานขับรถโดยสาร ผู้ประกอบการธุรกิจ และประชาชนในพื้นที่และ/หรือผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่การวิจัย โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 30 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) การเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประสบความสำเร็จสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการผลิตเพื่อใช้สู่การผลิตเป็นธุรกิจ การใช้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และกลไกการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวด้วยนวัตกรรมเชิงวัฒนธรรม 2) รัฐสภาสามารถเสนอให้มีการแก้ไขร่างกฎหมายเพื่อเป็นกรอบกฎหมายสามารถสะท้อนถึงแนวคิดใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับประเด็นด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และรัฐสภาทำหน้าที่ในการติดตามกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อการนำไปใช้ในการควบคุมในการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

Author Biography

สุนิสา เชาวน์เมธากิจ, คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

 

 

 

References

กรวรรณ สังขกร อาชว์บารมี มณีตระกูลทอง และ ศันสนีย์ กระจ่างโฉม. (2561). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม กรณีศึกษา : เส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา. กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ.

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย. (2563). บทบาทของรัฐสภาในการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ (พจนรรฏ สุทธิพินิจธรรม และอธิชา ชัยวิเชียร, ผู้แปลและเรียบเรียง). กรุงเทพฯ: สแกนด์-มีเดีย คอร์ปอเรชั่น.

เฉลิมศักดิ์ บุญนำ และสุนิสา เชาวน์เมธากิจ. (2560). บทบาทรัฐสภาในการพัฒนากลไก ระเบียบ กฎหมายที่เสริมสร้างขีดความสามารถด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ทวียศ ศรีเกตุ. (2559). การทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์. (2564). การพัฒนาบทบาทของรัฐสภาเกี่ยวกับหลักสากลทางกฎหมาย. วารสารจุลนิติ. 18(1), 131-137.

ฤทธิจักร จันทิมา. (2565). แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภาคเหนือแบบยั่งยืน (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิภาวรรณ เรืองฤทธิ์. (2563). บทบาทรัฐสภาไทยในด้านต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สมชาย ธนกุสุมาลย์ และสุริยะ ปรายสาธก. (2565). นโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019กรณีศึกษาสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร, วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ. 5(6), 155-173.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). ข้อกำหนดเบื้องต้นการวิจัย เรื่องบทบาทรัฐสภาในการขับเคลื่อนประเทศไทยด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อภิวัฒน์ สุดสาว. (2563). ระบบคณะกรรมาธิการ กลไกการทำงานของสภา. วารสารจุลนิติ 7(1), 105 - 114.

Phuripinisnant, T., Suklueang, K. ., and Suyaprom, S. (2023). Buddhist Methods of Culture Tourism Management of Phranakhonsiayutthaya Province, Journal of MCU Social Science Review. 12(2), 247-261.

Thanisaro, P. S. (2022). The Relic-Enshrining Pagodasin Southern Thailand : Historical Buddhist Art and Cultural Tourism Management, Journal of MCU Ubon Review. 7(1), 179-191.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23