องค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกการท่องเที่ยวแบบแคมป์ปิ้งและแกลมปิ้ง ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล

ผู้แต่ง

  • ชนิษฐา ใจเป็ง คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

แคมป์ปิ้ง, แกลมปิ้ง, อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกการท่องเที่ยวแบบแคมป์ปิ้งและแกลมปิ้ง ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากนักท่องเที่ยว และผู้ใช้บริการการท่องเที่ยวแบบแคมป์ปิ้งและแกลมปิ้ง ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักท่องเที่ยวชาวไทย ผู้ใช้บริการพักแรมในพื้นที่ลานกางเต็นท์ อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล จำนวน 428 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบสำหรับการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกการท่องเที่ยวแบบแคมป์ปิ้ง และแกลมปิ้ง ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านสิ่งดึงดูดใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเข้าถึง ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านที่น้อยที่สุดคือ ด้านการประชาสัมพันธ์ และ 2) พื้นที่พักแรมแบบแคมป์ปิ้ง และแกลมปิ้ง ควรตั้งอยู่ไม่ไกลจากแหล่งนันทนาการอื่นเพื่อสะดวกในการเดินทางและควรมีการจัดทำเส้นทางเชื่อมโยงไปยังส่วนต่าง ๆ เพื่อสะดวกต่อการเดินไปสู่สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และควรมีเจ้าหน้าที่เดินตรวจตรา เพื่อคอยให้คำแนะนำและดูแลความเรียบร้อย มีการกล่าวตักเตือนต่อนักท่องเที่ยวที่ใช้เสียงดังรบกวนคนอื่น

Author Biography

ชนิษฐา ใจเป็ง, คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

 

 

 

 

References

กัญจน์ มั่นจีระ และคณะ. (2564). การศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในรูปแบบแคมป์ปิ้ง จังหวัดนครนายก (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล, สุภัทรา สังข์ทอง และนิมิต ซุ้นสั้น. (2565). การพัฒนาแกลมปิ้งเพื่อการท่องเที่ยว, วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน. 4(2), 94-109.

กุลแก้ว คล้ายแก้ว. (2565). เอกสารคำสอน TOUR421 การท่องเที่ยวมรดกโลก. พิษณุโลก: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ข่าวกรุงเทพธุรกิจ. (2565). มูลค่าตลาดแคมปิ้งทั่วโลกพุ่ง 12% อยากจับธุรกิจนี้ต้องเริ่มอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566 จาก

https://www.bangkokbiznews.com/business/986538.

ธนกกนกพรหม สงสาคร และศิริสุดา พรมศิริ. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวแคมป์ปิ้ง(Camping) เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ในจังหวัดอุบลราชธานี (รายงานผลการวิจัย). อุบลราชธานี: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

แบรนด์เอจ ออนไลน์. (2565). Camping สู่ Glamping เทรนด์ท่องเที่ยวแบบกลางแจ้ง. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2566, จาก

https://www.brandage.com/article/29293/Camping-Glamping.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2556). การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข, วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 16(2), 9-18.

วิชสุดา ร้อยพิลา ชรินทร์ แพทย์ปรีดา และอรอุษา อ่องสุวรรณ. (2566). องค์ประกอบสำหรับการตัดสินใจเลือกที่พักแบบแคมปิ้ง จังหวัดนครนายก, วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 9(2), 89-97.

สถาบันการพลศึกษา. (2560). ความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2566 จาก https://tourismatbuu.com.

สุรางคนา ศรีสุทธิ. (2563). แผนธุรกิจ Home Camping and Glamping (ธุรกิจแคมป์ปิ้ง และแกลมปิ้ง). สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2566 จาก

http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4768.

สุวรรณี พันธ์แสน. (2565). ศึกษาปัจจัยและพฤติกรรมที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เลือกการท่องเที่ยวแบบแคมป์ปิ้งในจังหวัดชลบุรี. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2566 จาก https://3m-it.ru.ac.th/journals/it18/10.6314193010%20สุวรรณี%20พันธ์แสน. pdf.

อภินันท์ จันตะนี. (2550). สถิติและการวิจัยทางธุรกิจสำหรับนักศึกษา MBA. และ Ph.D. ฝ่ายบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Deloitte. (2019). The deloitte global millennial survey 2019. Retrieved July 7, 2023, from https://www.deloitte.com/cn/en/pages/about-

deloitte/articles/2019-millennial-survey.html.

Global Information Inc. (2021). Glamping market size estimated to grow to 3.9 billion USS in 2027. Retrieved June 29, 2023,

from https://www.gii.co.jp/report/kbv1005879-global- glamping- market-by-type-cabinspods-tents.html.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology. 140, 5-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23