การออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวและนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจชุมชนของตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • นิสากร กล้าณรงค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ศุภรัตน์ พิณสุวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, เศรษฐกิจชุมชน, ตำบลปูยู

บทคัดย่อ

ผลิตภัณฑ์ของชุมชนเป็นสินค้าที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว และสามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในพื้นที่ แต่ผลิตภัณฑ์ของชุมชนปูยูยังประสบปัญหารูปลักษณ์ของสินค้าที่ยังไม่มีคุณภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาและถอดอัตลักษณ์ท้องถิ่นของตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล และ 2) ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของท้องถิ่น เพื่อรองรับการท่องเที่ยว และนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจชุมชน การวิจัยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และการสนทนากลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กาหมาด ในหมู่ที่ 1 บ้านเกาะยาว และ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กะปิ และสัตว์น้ำทะเลแปรรูป ในหมู่ที่2 บ้านตันหยงกาโบย และหมู่ที่ 3 บ้านปูยู และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลปูยู ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องในตำบลปูยู 3 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 1 บ้านเกาะยาว หมู่ที่ 2 บ้านตันหยงกาโบย และ หมู่ที่ 3 บ้านปูยู ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ภูมิทัศน์ธรรมชาติ ที่โดดเด่นของตำบลปูยู ได้แก่ ปลา เกาะปราสมานา เกาะการ๊าฟ และถ้ำลอดปูยู ส่วนอัตลักษณ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ได้แก่ ความเป็นชุมชนมุสลิม และวิถีชีวิตของชุมชนประมงชายฝั่ง ที่สามารถนำมาออกแบบตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชน จำนวน 6 รูปแบบซึ่งตราสินค้าที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นจากการมีส่วนร่วมของชุมชนสามารถทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว จะสามารถรองรับการท่องเที่ยวและยกระดับรายได้แก่ชุมชนในอนาคตได้

Author Biography

ศุภรัตน์ พิณสุวรรณ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

 

References

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2540). อัตลักษณ์วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระครูใบฎีกาวิชาญ วิสุทโธ (ทรงราศี) และ ภักดี โพธิ์สิงห์. (2565). อัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 9(2), 127-140.

มัลลิกา แซ่ตัน และ พลัฎฐ์ ยิ้มประเสริฐ. (2565). ออกแบบตราสินค้า พัฒนาบรรจุภัณฑ์และสื่อประชาสัมพันธ์เค้กปลากะพงเกาะยอ ชุมชนเกาะยอ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 33 ประจำปี 2565 Glocalization of Research and Innovation, 575-580. วันที่ 22-23 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมทวินโลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มาริสา หิรัญตียะกุล และนภดล ตั้งสกุล. (2565). การศึกษาอัตลักษณ์ถิ่นที่ในสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง, Journal of Architecture/Planning Research and Studies (JARS). 19(1), 99-113.

เมธาวี จำเนียร. ( 2564). อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การสร้างและสื่อสารแบรนด์กรณีศึกษา การแสดงรำโทนนกพิทิด, วารสารราชพฤกษ์. 19(2), 1-12.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 05 การท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565, จาก

http://www.nscr.nesdc.go.th.

องค์การบริหารส่วนตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล. ( 2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-พ.ศ. 2565). สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2566, จาก https://puyu.go.th/public/list/data/detail/ id/2391/menu/1196/page/1/catid/2.

อภิสรา กฤตาวาณิชย์. (2564). การสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนสู่การออกแบบบรรจุภัณฑ์กาแฟอาข่าปางขอนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีกาแฟ, วารสารรัชต์ภาคย์. 15(43), 197-210.

อิศราพร ใจกระจ่าง สาวิตรี มุณีศรี สุธิกาญจน์ แก้วคงบุญ สุภาพร ไชยรัตน์ และสุพัตรา คำแหง. (2559). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ระลึกด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และ นานาชาติ ครั้งที่ 7, 583-596. วันที่ 23 มิถุนายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2548). ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์.

Briciu, Victor-Alexandru, Briciu, A., and Kavoura, A. (2022). Place identity in The Encyclopedia of Tourism Management and Marketing. Dimitrios Buhalis (Edited). Pp. 512-515. Retrieved March 5, 2022 from https:doi.org/10.4337/9781800377486.place.identity.

Piva, E. and Prats, L. (2021). Regional Destination and Brand Identity: The Case of Piedmont, Italy. Scienze Regionali, Italian Journal of Regional Science. 1(2021), 83-105.

Tsaur, Sheng-Hshiung, Yen, Chang-Hua and Yan, Yu-Ting. (2016). Destination Brand Identity: Scale development and Validation. Asia Pacific Journal of Tourism Research. 21(12), 1310-1323.

Wheeler, Fiona, Frost, W, and Weiler, B. (2011). Destination Brand Identity, Values, and Community: A Case Study From Rural Victoria. Journal of Travel & Tourism Marketing. 28(1), 13-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23