ความเชื่อมั่นและการยอมรับในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ปรารถนา หลีกภัย คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

คำสำคัญ:

ความเชื่อมั่นในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน, การยอมรับในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน, องค์การบริหารส่วนตำบล, จังหวัดตรัง, Performance Appraisal System, Subdistrict Administrative Organizations, Trang Province

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเชื่อมั่น การยอมรับ เปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่น และศึกษาเปรียบเทียบระดับการยอมรับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเอฟ

          ผลการวิจัย พบว่า ระดับความเชื่อมั่นในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ระดับการยอมรับอยู่ในระดับมาก ข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และความรู้ความเข้าใจในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความเชื่อมั่นในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีเพศ และความรู้ความเข้าใจในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีระดับการยอมรับในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

This study aimed to investigate and compare levels of confidence and acceptance the performance appraisal system for local government official under the subdistrict administrative organizations in Mueang District, Trang Province, classified by personal factors. This research was a quantitative study. The sample group consisted of 160 local government officials under the subdistrict administrative organizations in Mueang District, Trang Province. The instrument used for data collection was a questionnaire. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation,    t-test for differences between means, and F-test for differences between means.

The research results revealed that the overall level of confidence in the performance appraisal system for local government officials under the subdistrict administrative organizations was high. The level of acceptance was also high. Local government officials under the subdistrict administrative organizations with different ages, average monthly incomes, and understanding of the performance appraisal system had significantly different levels of confidence in the performance appraisal system at the 0.05 level. Additionally, local government officials under the subdistrict administrative organizations with different genders and understanding of the performance appraisal system had significantly different levels of acceptance of the performance appraisal system at the 0.05 level.

References

กรกมล สอนสุภาพ. (2557). ความคิดเห็นของพนักงานส่วนตำบลต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

เกรียงไกร วิจักขณาพงษ์. (2564). ความเชื่อมั่นและการยอมรับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดยะลา, วารสารการจัดการสมัยใหม่. 15(2), 47-60.

จุฬารัตน์ จันทร์สว่าง. (2560). ปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

จำนงค์ พลายงาม. (2560). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานภาครัฐ, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 37(1), 147-159.

ชุติมา สุขเอม. (2557). แนวทางการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลในองค์การบริหารส่วนตำบล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธงชัย สันติวงษ์. (2539). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ธนวัฒน์ เถื่อนศรี. (2561). การยอมรับการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกลางข้าราชการส่วนท้องถิ่นกำหนด: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์, วารสารบัณฑิตศึกษา. 15(71), 43-56.

ธนาวดี จารุโรจน์โรจน์. (2559). การรับรู้ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรปราการ, วารสารวิทยบริการ. 27(2), 89-99.

นารีรัตน์ สุขเกษม. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรี ปานปรีดี. (2559). การยอมรับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลในจังหวัด

สมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เมธาวี เอี่ยมละมัย. (2557). ความคิดเห็นของพนักงานส่วนตำบลต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิภาดา คุปตานนท์. (2553). การประเมินผลการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิเชียร วิทยอุดม. (2553). การประเมินผลการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2556). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ศิริพร คงวาป. (2563). การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลในจังหวัดสระแก้ว, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 7(2), 121-135.

สมคิด บางโม. (2551). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.

สมชาย หิรัญกิตติ. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ส.ส.ท.

สุดารัตน์ สารกิจ. (2557). การยอมรับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุธิดา จันทรสุวรรณ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน, อบต.วารสารบัณฑิตศึกษา. 14(68), 55-67.

สุรพงษ์ โงวศิริ. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ประชุมช่าง.

สุวรรณี อ่องสกุล. (2554). ปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง

ลำปางจังหวัดลำปาง. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิมล คำมูลตรี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

Armstrong, M. (2006). A handbook of human research management practice. (10th ed). London : Kogen Page.

Dessler, G. (2017). Human resource management. (15th ed). Florida : Person.

Pallant, J. (2007). SPSS survival manual: A step by step guide to data analysis using SPSS for windows. (3rd ed). London : Routledge

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31