การดูแลตนเองของผู้สูงอายุและครอบครัวชุมชนบ้านห้วยแห้ง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • ปรัศณีย์ สุริฉาย ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการชุมชนท้องถิ่น คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุ, ครอบครัว

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลตนเองของผู้สูงอายุและการดูแลผู้สูงอายุของสมาชิกในครอบครัวชุมชนบ้านห้วยแห้ง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ซึ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีทั้งหมด 30 คน ได้แก่ ผู้สูงอายุ 15 คน และกลุ่มสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ 15 คน  โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Deep Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1) การดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านห้วยแห้งส่วนใหญ่ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือดูแลตนเองได้ดี ทั้งในด้านโภชนาการ การขับถ่าย การออกกำลังกาย การพักผ่อน การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการจัดการความเครียดซึ่งข้อสังเกตที่เห็นสำคัญ คือ ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวและเรียนรู้เพื่อเข้าสู่ช่วงวัยชราได้ดี อีกทั้งยังคงใช้วิถีชีวิตตามสังคมชนบทแบบเรียบง่าย และ 2) การดูแลจากครอบครัวของผู้สูงอายุ พบว่า ครอบครัวให้การดูแลที่สำคัญในเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุในภาวะปกติทั่วไป คือ การรับประทานอาหาร การดูแลสุขภาพ การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ และสถานภาพการเงินของผู้สูงอายุ รวมถึงการดูแลในภาวะเจ็บป่วย คือ การดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยทั่วไป และการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว นอกจากนี้การไปพบแพทย์ตามนัดของผู้สูงอายุครอบครัวก็ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อสังเกตที่เห็นสำคัญคือ ครอบครัวให้การเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ

References

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์) : ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ, วารสารรูสมิแล. 38(1), 6-28.

เมธาพร เมธาพิศาล, อาคม บุญเลิศ และเสาวนันท์ บำเรอราช. (2560). ความต้องการผู้ดูแลในบ้าน ในมุมมองของผู้สูงอายุเมื่อขาดความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันโดยใช้อุปกรณ์, วารสารศรีนครินทร์เวชสาร. 32(6), 591-595.

รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์. (2559). รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ. (2556). โครงการวิจัยบูรณาการเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม. (รายงานการวิจัย). นครปฐม : สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุรีย์ กาญจนวงศ์ และคณะ. (2540). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทยในประเด็นการศึกษาภาวะสุขภาพอนามัย และการดูแลตนเองที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอ วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี, วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 9(3), 57-69.

อรวรรณ แผนคง. (2553). การพยาบาลผู้สูงอายุ. นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.

Orem D. E. (1991). Nursing : Concept of practices. MO : Mosby.

World Health Organization (WHO). (2015). World Report on Ageing and Health. Retrieved November 29, 2023 from https://resource.tcdc.or.th/ebook/

AgingSociety_Report_official.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29