มหกรรมศิลปวัฒนธรรมหุบเขาฝนโปรยไพร ครั้งที่ 18: กิจกรรมรำลึกสู่การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
-
คำสำคัญ:
มหกรรมศิลปวัฒนธรรม, เศรษฐกิจชุมชน, หุบเขาฝนโปรยไพร, Arts and culture festival, community economy, Hoobkhoa Festivalบทคัดย่อ
การจัดงานรำลึกถึงกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ จัดมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน ปัจจุบันกิจกรรมรำลึกยังคงอยู่และมีกิจกรรมอื่นๆ มากมาย จากกิจกรรมรำลึกสู่งานมหกรรม บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมที่จัดในมหกรรมศิลปวัฒนธรรมหุบเขาฝนโปรยไพร ครั้งที่ 18 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมหกรรมศิลปวัฒนธรรมหุบเขาฝนโปรยไพร ครั้งที่ 18 กับการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่ภาคสนาม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากเอกสาร ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมหกรรมศิลปวัฒนธรรมหุบเขาฝนโปรยไพรครั้งที่ 18 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ตีความ จำแนกองค์ประกอบ จัดระบบข้อมูล เชื่อมโยง เปรียบเทียบเนื้อหาและสรุปข้อมูลเขียนเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่า กิจกรรมของมหกรรมศิลปวัฒนธรรมหุบเขาฝนโปรยไพรครั้งที่18 มี 10 กิจกรรมคือ กิจกรรมค่ายนักเขียน กิจกรรมค่ายศิลปะ “ศิลป์สร้างสุข” กิจกรรมค่ายเพลงดนตรีเยาวชน “ศิลป์สร้างสุข” กิจกรรมการเสวนาปาฐกถางานวรรณกรรม กิจกรรมศิลปะและวัฒนธรรม ปักษ์ใต้ กิจกรรมรำลึกการจากไปของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ กิจกรรมมอบรางวัลกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ครั้งที่ 8 กิจกรรมคอนเสิร์ตหุบเขาฝนโปรยไพร ครั้งที่ 18 กิจกรรมประทับมือศิลปินแห่งชาติ และกิจกรรมการเที่ยวชมหลาดใต้โหนด ในด้านความสัมพันธ์ของมหกรรมศิลปวัฒนธรรมหุบเขาฝนโปรยไพรครั้งที่ 18 กับการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน 3 มิติคือ มิติสังคม มิติเศรษฐกิจและมิติสิ่งแวดล้อม ทำให้กิจกรรมรำลึกกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ในชื่องานมหกรรมหุบเขาฝนโปรยไพรครั้งที่ 18 มีส่วนช่วยเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน สร้างความสามัคคีในชุมชน สร้างรายได้ให้คนในชุมชน มีการบูรณาการกระบวนการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม
The commemorative activities for Kanokpong Songsomphan have been continuously organized for a long time. Currently, the commemorative activities still exist and have many other activities, from commemorative activities to fairs. The purpose of this article is to study the activities organized at the 18th Arts and Culture Hoobkhoa Festival and to investigate the relationship between the 18th Arts and Cultural Hoobkhoa Festival and the sustainable development of the community economy using qualitative research methods. Data were collected through field visits, non-participant observation, and further study of documents using techniques to analyze document data related to the 18th Arts and Culture Hoobkhoa Festival; then use the obtained data to analyze, interpret, and classify elements, organize information, link, compare content, and summarize information in descriptive writing. From the study, it was found that there are 10 activities organized at the 18th Arts and Cultural Hoobkhoa Festival: writer camp, activities art camp activities “Art creates happiness,” youth music camp activities “Art creates happiness,” literary lecture discussion activity Southern arts and cultural activities, activities to remember the passing of Kanokpong Songsompan, activities to present 8th Kanokpong Songsomphan Award activity, 18th Rain Valley Concert activity, national artist hand-stamping activity, and activities for visiting Lard Tai Nod In terms of the relationship of the 18th Arts and Cultural Hoobkhoa Festival with the sustainable community economic driving 3 dimensions: social dimension, economic dimension, and environmental dimension, which make the activity to remember Kanokpong Songsomphan, named the 18th Rainmaking Valley Expo, help sustainably contribute to the community economy, create unity in the community, create income for people in the community, and integrate the process of creating environmental awareness.
References
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดพัทลุง. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดพัทลุง 5 ปี (พ.ศ.2566-2570). สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.phatthalung. go.th/2022/files/com_news_develop/2022-04_677cac2c26c2239.pdf.
นิจกานต์ หนูอุไร. (2561). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ชุมชนลุ่มนํ้าคลองป่าพะยอม-คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 12(2), 53-55.
พิสิฐ พิริยะภรณ์และคณะ. (2565). เทศกาลเครื่องลมทองเหลืองสิงคโปร์ 2019: การพัฒนาเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยเทศกาลดนตรี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(4), 239-251.
มาโนช ดินลานสกูล. (2565). ถอดบทเรียนการจัดค่ายพัฒนาการอ่านการเขียน : กรณีศึกษากลุ่มวรรณกรรมคลื่นใหม่และกลุ่มนาคร. วิวิธวรรณสาร. 6(2), 69-82.
สัมภาษณ์
กรรมการหลาดใต้โหนด (ผู้ให้สัมภาษณ์ ). นธี เหมมันต์ (ผู้สัมภาษณ์). หลาดใต้โหนด จังหวัดพัทลุง. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2567.
ผู้จัดการหลาดใต้โหนด (ผู้ให้สัมภาษณ์ ). นธี เหมมันต์ (ผู้สัมภาษณ์). หลาดใต้โหนด จังหวัดพัทลุง. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2567.
ผู้ประกอบการหลาดใต้โหนด (ผู้ให้สัมภาษณ์ ). นธี เหมมันต์ (ผู้สัมภาษณ์). หลาดใต้โหนด จังหวัดพัทลุง. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2567.
สมาชิกในครอบครัวกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์ ). นธี เหมมันต์ (ผู้สัมภาษณ์). หลาดใต้โหนด จังหวัดพัทลุง. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2567.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.