อัตลักษณ์เชิงช่างเทริดโนราในภาคใต้

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ สิทธิกุล สาขาวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • พรพันธุ์ เขมคุณาศัย สาขาวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • พรไทย ศิริสาธิตกิจ สาขาวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์เชิงช่าง, เทริดโนราใหญ่, โนราใหญ่, ภาคใต้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์เทริดโนราและคติความเชื่อของสกุลช่างในภาคใต้ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลหลัก แนวคิดที่นำมาวิเคราะห์ได้แก่ แนวคิดอัตลักษณ์ และความเชื่อ ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์เทริดโนราของสกุลช่างภาคใต้มีความโดดเด่นที่แตกต่างกันดังนี้ สกุลช่างอ้น จังหวัดสงขลา การตกแต่งโครงเทริดด้วยการปั้นลายตัวพุด ลายตัวผมเทริด และลายแมงดาตามกัน สกุลช่างลุ้น จังหวัดตรัง โดดเด่นด้านการทำเพดานเทริด 4 ชั้น การแต้มสีเป็นลายตีนจุกตูบริเวณโครงเทริด สกุลช่างแว็ก จังหวัดนครศรีธรรมราช การใช้ไม้รักทำยอดเทริดเพราะมีความเชื่อจะมีคนรักคนหลง เพดานเทริดประดับดอกไม้ไหว โครงเทริดตกแต่งด้วยการปั้นลายรักร้อย ลายตาข้าวพอง ส่วนโครงหน้าเทริดทำเป็นรูปทรงเรียกว่าหยักไรผม และสกุลช่างล่าย จังหวัดพัทลุง โดดเด่นในการใช้ไม้ขนุนและไม้ยอทำเพดานเทริด ส่วนยอดเทริดใช้วิธีการขุดเป็นรูปดอกบัว โครงเทริดตกแต่งด้วยการปั้นลายหยดน้ำค้าง การแต้มสีแดงซึ่งภาษาช่างเรียกว่าการเขียนศิลป์ ส่วนคติความเชื่อของสกุลช่าง สำหรับลวดลายของแต่ละสกุลช่างสะท้อนคติความเชื่อ ดังนี้ สกุลช่างอ้น ใช้ลายตัวพุด มีลักษณะเหมือน ตัวโอม แทนความโชคดี ในขณะสกุลช่างลุ้นใช้ลวดลายตัวโอมเหมือกันให้ความหมายแทนความสำเร็จ ส่วนสกุลช่างแว็ก ใช้ลายดอกประจำยามทั้ง 4 ทิศ หรือเทวดาทั้ง 4 ทิศ ซึ่งเปรียบเสมือนพระพรหม และสกุลช่างล่าย เน้นลาย หยดน้ำค้าง แทนเมตตามหานิยม

Author Biographies

จักรพันธ์ สิทธิกุล, สาขาวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

 

พรไทย ศิริสาธิตกิจ, สาขาวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

 

References

กรกฎ จำเนียร และเมธาวี จำเนียร. (2559). การพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์และผลิตสื่อวีดิทัศน์สารคดีทาง วัฒนธรรมแก่นักเรียนในโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้การอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสุทธิปริทัศน์. 29, 28-38.

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2516). ภูมิปัญญาไทย เล่มที่ 16. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564. จาก http://kanchanapisek.or.th.

ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์. (2523). พิธีกรรมที่น่าศึกษาในโนราโรงครู. ใน พุ่มเทวาที่ระลึกงานเชิดชูเกียรติ ศิลปินภาคใต้ : ขุนอุปถัมภ์นรากร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ธีรวัฒน์ ช่างสาน. (2560). การพัฒนาเครื่องแต่งกายโนราภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 12(1), 93-106.

นภสมน นิจรันดร์. (2550). โนรา : สัญลักษณ์ พิธีกรรม ตัวตนคนใต้รอบลุ่มทะเลสาบสงขลายุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปฏิวัติ นามทองใบ และปัทมาวดี ชาญสุวรรณ. (2564). ศิราภรณ์ : เครื่องประดับศีรษะในการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประไพพิมพ์ พานิชสมัย. (2560). การออกแบบอัตลักษณ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนท่าแพ จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัทธานันท์ สมานสุข. (2559). การสืบทอดโนราเพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้าน: กรณีศึกษาโนรายก ชูบัว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานพ อ่อนแก้วและคณะ. (2556). แนวทางการพัฒนาการประดิษฐ์เทริดโนรามรดกทางวัฒนธรรมโดยการประยุกต์วัสดุสมัยใหม่ในการผลิตของภูมิปัญญาในแถบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (รายงานวิจัย). สงขลา : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์ พับลิเคชั่นส์.

วิมล จิโรจพันธุ์, ประชิด สกุณะพัฒน์ และกนิษฐา เชยกีวงศ์. (2551). มรดกทางวัฒนธรรมภาคใต้. กรุงเทพฯ : แสงดาว.

ศิรินาถ ปิ่นทองพันธ์ . (2546). การรับรู้และการสื่อสารในการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นชาวใต้ของนักศึกษาภาคใต้ในกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ : การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

อุไรรัตน์ ศิริศุภดิลกภัทร์. (2558). อัตลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตรีในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการมหาวิทยาลัยศรีปทุม.

โอภาส อิสโม. (2544). ศึกษาพิธีครอบเทริดโนรา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

บุคลานุกรม

จตุรงค์ จันทระ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักรพันธ์ สิทธิกุล (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 6 - 10 มีนาคม 2565.

ประเทือง สัจบุตร (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักรพันธ์ สิทธิกุล (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. เมื่อวันที่ 11 - 16 มีนาคม 2565.

กิ้ก สัจบุตร (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักรพันธ์ สิทธิกุล (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. เมื่อวันที่ 11 - 16 มีนาคม 2565.

เสริมศักดิ์ เลื่อนจันทร์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักรพันธ์ สิทธิกุล (ผู้สัมภาษณ์). ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง. เมื่อวันที่ 9 - 10 กรกฎาคม 2565.

ณรงค์ชัย ริยาพันธ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักรพันธ์ สิทธิกุล (ผู้สัมภาษณ์). ตำบลพิปูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 16 - 17 กรกฎาคม 2565.

อำนาจ โนวัฒน์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จักรพันธ์ สิทธิกุล (ผู้สัมภาษณ์). ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 20 - 21 กรกฎาคม 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29