การประยุกต์ใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาและแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชาวเมียนมาร์ในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ คันทมาศ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษา, แรงจูงใจในการตัดสินใจ, การศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี, ภาษาอังกฤษศึกษา, นักศึกษาระดับปริญญาตรีชาวเมียนมาร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การเรียนรู้และแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) ของนักศึกษาชาวเมียนมาร์ 2) เพื่อวิเคราะห์ความ แตกต่างของกลยุทธ์การเรียนรู้และแรงจูงใจ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การเรียนรู้และ แรงจูงใจ กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัย คือ นักศึกษาชาวเมียนมาร์ที่ศึกษาต่อสาขาภาษาอังกฤษศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) ชั้นปีที่ 3 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 30 คน ในปีการศึกษา 2565 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ การทดสอบค่าไคสแควร์ และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และใช้กลยุทธ์อภิปัญญาอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และใช้แรงจูงใจภายในอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการวิเคราะห์ความแตกต่างของกลยุทธ์การเรียนรู้และแรงจูงใจ พบว่า ผลการเรียนภาษาอังกฤษที่ต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับกลยุทธ์การเรียนรู้และแรงจูงใจ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน อยู่ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และการทดสอบความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ในการเรียนรู้และแรงจูงใจ พบว่า กลยุทธ์การเรียนรู้และแรงจูงใจไม่มีความสัมพันธ์กับผลการเรียนภาษาอังกฤษ อยู่ที่ระดับนัยสำคัญ .05

References

กฤตเมธ นิติวัฒนะ. (2560). การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

เกตุวดี Marumura. (2561). หัวใจเซนเซ สร้างคนแบบญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: มติชน.

ณพิมชนะกิจ พวกอินแสง. (2561). การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาจีนของนักศึกษาสาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ทัศนีย์จันติยะ, สุภิญญา ปัญญาสีห์ และ จิราภรณ์ กาแก้ว. (2560). การศึกษาแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

พระราชวรเมธี, ลำพอง กลมกูล และ รัชนี จุลทะหว้า. (2563). กลไกสู่การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์: ไทยศึกษา พม่าศึกษาและศาสนศึกษา. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 3(3), 1-15.

พิทยาธร แก้วคง. (2560). กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษ ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา. วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 12(3), 83-99.

วันทนี แสงคล้ายเจริญ, สมิทธ์ วงศ์วิวัฒน์, จิตสุดา ละอองผล, วรเวทย์พิสิษ ยศศิริ, มูฮำหมัดสุกรี หะยีสะนิ, และนิชาภัทรชย์ รวิชาติ. (2562). กลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. Humanities, Social Sciences and arts, 12(6), 2496-2520.

วิภาณี เพ็ชร์มาก. (2559). กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ในสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษต่างกัน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศราวุฒิ บุญรักษ์. (2562). การศึกษากลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษธุรกิจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences, 3(2), 30-50.

สมพร โกมารทัต. (2559). ความสัมพันธ์ของการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(ฉบับพิเศษ), 186-197.

สายทิพย์ เยื่อปุย. 2563). วิธีสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นของอาจารย์ชาวญี่ปุ่นและอาจารย์ชาวไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุณี วิริยะจิตรา. (2559). แนวทางการสร้างสรรค์วัฒนธรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยผ่านการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและผู้สอน ผู้บริหารการศึกษาครอบครัวและชุมชน. นครปฐม: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด.

อรุณี อรุณเรือง, ทรงสิริ วิชิรานนท์ และภาวิณี อุ่นวัฒนา. (2560). การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Oxford, R. (1990). Language Learning Strategies: What Every Teacher Should Know. Boston: Heinle & Heinle Publishers.

Statista. (2022, November 29). The most spoken languages worldwide in 2022 (by speakers in millions). https://www.statista.com/statistics/266808/the-most-spoken-languages-worldwide/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29