ข้าวมันไก่บ่นเซียว: ภูมิปัญญาอาหารคนไหหลำหาดใหญ่
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญาอาหาร, ข้าวมันไก่บ่นเซียว, คนไหหลำเมืองหาดใหญ่บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภูมิปัญญาอาหารข้าวมันไก่บ่นเซียวของคนไหหลำเมืองหาดใหญ่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตและการสัมภาษณ์จากผู้สืบทอด ผู้รู้ และผู้บริโภคข้าวมันไก่ไหหลำ รวม 11 คน และศึกษาข้อมูลจากเอกสารแนวคิดในการศึกษา ได้แก่ แนวคิดภูมิปัญญา และแนวคิดอัตลักษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ข้าวมันไก่บ่นเซียวเป็นชื่อดั้งเดิม มีที่มาจากไก่พันธุ์พื้นเมือง ของตำบลบ่นเซียวเมืองไหหลำประเทศจีน ไก่จากตำบลบ่นเซียวมีตำนานเล่าว่ามีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัย ราชวงศ์หมิงราว 500 ปีมาแล้วเมื่อขุนนางราชวงศ์หมิงเชื้อสายไหหลำนำไก่บ่นเซียวต้มถวายจักรพรรดิ การสืบสานตำนานจากโต๊ะเสวยของจักรพรรดิสู่ร้านข้าวมันไก่คนไหหลำเมืองหาดใหญ่เป็นภูมิปัญญาของคนไหหลำที่รักษาความดั้งเดิมของคนไหหลำที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ผู้บริโภคสามารถรับรู้ได้ถึงรสชาติดั้งเดิมที่ส่งต่อมาจากโต๊ะเสวยของจักรพรรดิ การสืบสานภูมิปัญญาการทำข้าวมันไก่ของคนไหหลำ มี 2 แบบ คือ 1) การสืบทอดโดยทายาทจากรุ่นสู่รุ่น และแบบข้ามรุ่น 2) การสืบทอดผ่านบุคคลที่ไม่ใช่ทายาทแต่ต้องเป็นคนไหหลำเช่นเดียวกัน
References
กุ้ยทง หม่า. (2554). ศึกษาอัตลักษณ์ชาวไทยเชื้อสายจีนฮากกา ในเขตเทศบาลจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
เกตุมาตุ ดวงมณี. (2562). “โอตาว” อาหารในประเพณีกินเจกับความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีนจังหวัดตรัง, วารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์. 19(1), 46-60.
เกตุมาตุ ดวงมณี . (2564). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของอาหารชาติพันธุ์จีนท้องถิ่นในจังหวัดตรัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 15(2), 150-162.
จรีพร เชื้อเจ็ดตนและเกียรติศักดิ์ สร้อยสุวรรณ. (2562). การแปรรูปอาหารจีนท้องถิ่นในเชิงพานิชย์ กรณีศึกษาอาหารจีนท้องถิ่นในจังหวัดตรัง. สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์. (2558). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ราชภัฎรำไพพรรณี.
นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ. (2556). วัฒนธรรมอาหารโต๊ะจีนในงานมงคลสมรสของชาวไทยเชื้อสายจีนในอำเภอเบตง. วารสารวิเทศศึกษา. 8(2), 145-171.
ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2546). การสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในวาทกรรมอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
พัชฎาภรณ์ แสงทามาตย์ และคณะ. (2562). การวิจัยและพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อม: กรณีศึกษาร้านเป็นหนึ่งข้าวมันไก่. อุดรธานี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
รณภพ นพสุวรรณและคณะ. (2566). การสืบสานมรดกวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นลังกาลุกะบนแผ่นดินปลายด้ามขวานทองของไทย. วารสารปราชญ์ประชาคม. 1(1), 72-82.
ลักษมี จิระนคร. (2565). ขุนนิพัทธ์จีนนคร ผู้บุกเบิกหาดใหญ่ยุคแรกสุด อุทิศที่ดินพัฒนาจากป่าสู่เมืองใหญ่. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2566, จาก https://www.silpa-mag.com/history/ article_ 42351.
วิรัตน์ สุมน. (2556). “ข้าวมันไก่ สูตรไหหลำ สูตรดั้งเดิมกว่า 3 ชั่วอายุคนร่วม 120 ปี: การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์”.วารสารปศุสัตว์เกษตรศาสตร์. 40(158), 72-74.
ศิริพร เรือนสุวรรณและนิธิอร พรอำไพสกุล. (2565). การศึกษาความหมายเชิงวัฒนธรรมจากอาหารในเทศกาลตรุษจีนของคนไทยเชื้อสายจีน. วารสารพิกุล. 1(20), 365-380.
สมาคมสหกิจไทย-จีนแห่งประเทศไทย. (2565). หล่ายกงไฮ้หน่ำอวย. กรุงเทพ: ชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมและภาษาไฮ้หน่ำแห่งประเทศไทย.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2542). ความเชื่อของชาวภาคใต้ สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์.
สุพจน์ แสงเงิน และคณะ. (2550). วิถีไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุภาวดี นาคบรรพ์. (2562). “หมูย่างเมืองตรัง” เส้นทางภูมิปัญญาอาหารจีนสู่เมนูไทยท้องถิ่น. วารสารวัฒนธรรมอาหารไทย. 1(1), 50-62.
อนันต์ กาญจนพันธุ์. (2544). วิธีคิดเชิงซ้อนในการวิจัยชุมชน: พลวัตและศักยภาพของชุมชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์. กรุงเทพฯ คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ.
อุมารินทร์ ตุลารักษ์. (2550). แม่หญิงในวรรณกรรมลาว วรรณกรรมร่วมสมัยหลังการปฏิวัติชาติประชาธิปไตย ค.ศ1975. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2544). ภูมิปัญญาทักษิณ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
สัมภาษณ์
กานดา ยุ่นกำ (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชญาน์ทัต เอี่ยวเรืองสุรัติ (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านเลขที่ 18 ถนนกิมประดิษฐ์ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565.
ฐิติพร จงรักษ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชญาน์ทัต เอี่ยวเรืองสุรัติ (ผู้สัมภาษณ์). ที่130 ถนนธรรมนูญวิถี ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2565.
ธนิก ภูชัชวิชกุล (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชญาน์ทัต เอี่ยวเรืองสุรัติ (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านเลขที่ 1101/4135 ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565.
ธีระ เรืองวิริยะ (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชญาน์ทัต เอี่ยวเรืองสุรัติ (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านเลขที่ 130 ถนนธรรมนูญวิถีตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2565.
นพดล นิติเรืองจรัส (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชญาน์ทัต เอี่ยวเรืองสุรัติ (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านเลขที่ 130 ถนนธรรมนูญวิถี ตำบลคอหงส์อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565.
เบญจวรรณ ธรรมชัยกุล (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชญาน์ทัต เอี่ยวเรืองสุรัติ (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านเลขที่ 1101/4135 ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565.
ประภารัตน์ ฉายศิริพันธ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชญาน์ทัต เอี่ยวเรืองสุรัติ (ผู้สัมภาษณ์). 1101/4135 ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565.
เริงชัย วิริยะกุล (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชญาน์ทัต เอี่ยวเรืองสุรัติ (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านเลขที่ 19 ถนนธรรมนูญวิถี ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565.
ศศิษา ภูชัชวนิชกุล (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชญาน์ทัต เอี่ยวเรืองสุรัติ (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านเลขที่ 18 ถนนกิมประดิษฐ์ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565.
อรวรรณ สุวรรณหงส์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชญาน์ทัต เอี่ยวเรืองสุรัติ (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านเลขที่ 18 ถนนกิมประดิษฐ์ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 1พฤศจิกายน 2565.
อรอนงค์ เอี้ยวฉาย (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชญาน์ทัต เอี่ยวเรืองสุรัติ (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านเลขที่ 18 ถนนกิมประดิษฐ์ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.