การศึกษาการผลิตกุ้งขาวแวนนาไมของเกษตรกรรายย่อย ในตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สุธรรม ขนาบศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
  • เสาวลักษณ์ พรหมศร คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, กุ้งขาวแวนนาไม, Cost, Return, Vannamei Shrimp

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตกุ้งขาวแวนนาไมของเกษตรกรรายย่อยในตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการเลี้ยง กุ้งขาวแวนนาไม และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไม ตลอดจนศึกษาปัญหาในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบจากเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 170 ครัวเรือน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ได้รับผลตอบแทนสุทธิต่อไร่สูงกว่าต้นทุนต่อไร่อยู่ไร่ละ 127,191.67 บาท/ไร่/รอบ (2 เดือน) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อปริมาณผลผลิตของเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ได้แก่ อัตราการปล่อยลูกกุ้ง ค่าอาหารกุ้ง และจำนวนแรงงานจ้าง ส่วนปัญหาของเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม พบว่า เกษตรกรมีปัญหา ในด้านการผลิตและการตลาด อยู่ในระดับมากที่สุด

This research aims to study the Vannamei shrimp production of smallholder farmers in Koh Phet Subdistrict, Hua Sai District, Nakhon Si Thammarat Province. The objectives are to: (1) study costs and returns of Vannamei shrimp, (2) study the factors influencing the production of Vannamei shrimp, and (3)study problems in Vannamei shrimp farming by collecting their data with a systematic sampling method, totaling 170 households. It was found that the net returns per rai are higher than the costs per rai at 127,191.67 baht /rai/cycle (2 months). The factors influencing the yield of Vannamei shrimp farmers were rate of releasing baby shrimp, cost of shrimp feed, and number of hired labours respectively. In the study of problems of Vannamei shrimp farmers, it was found that farmers had problems in production and marketing at the highest level.

References

ฉลอง แต่งตั้ง. (2542). การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจของการผลิตกุ้งกุลาดำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ฤดูกาลผลิต 2541/42.(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โชคชัยชาญ วิโรจน์สัตตบุษย์, วลีรัตน์ สุพรรณชาติ และสุวรรณา ประณีตวตกุล. ผลกระทบของสังคมสูงวัยต่อผลิตภาพแรงงานในภาคการเกษตรไทย, วารสารแก่นเกษตร. 47(3), 420-429.

ทิพวรรณ ฤทธิชัย และธิดาพร สอนภักดี. (2565). การตัดสินใจลงทุนเลี้ยงกุ้งแบบผสมระหว่างกุ้งขาวแวนนาไมกับกุ้งก้ามกรามในบ่อดินของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.(รายงานผลการวิจัย). นครปฐม : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

บังอร บังใบ และกัญญารัตน์ กลับประยูร. (2563). ต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ระหว่างวิธีการเลี้ยงแบบเดี่ยวกับวิธีการเลี้ยงแบบผสมผสาน.(รายงานผลการวิจัย). นครปฐม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ประชิด ตรีพลอักษร. (2563). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามและการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565, จาก https://www4.fisheries.go.th/local/pic_activities/202106291350131_pic.pdf.

พิทยาธร ทองคละ. (2562). การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนเลี้ยงกุ้งระหว่างกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำ.(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เพชรี ขุมทรัพย์. (2555). วิเคราะห์งบการเงิน: หลักและการประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพ็ญแข แสงภัทรเนตร. (2548). การวิเคราะห์เศรษฐกิจการผลิตกุ้งก้ามกรามในจังหวัดราชบุรี ปีการผลิต 2546/2547.(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัชฎาภรณ์ บุญฤทธิ์. (2553). ปัจจัยการผลิตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตกุ้งขาวของเกษตรกรในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา(รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิโรตน์ วารุณประภา. (2547). การวิเคราะห์เศรษฐกิจการผลิตกุ้งก้ามกราม ในจังหวัดสุพรรณบุรี ปีการผลิต 2544/45.(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุดารัตน์ เลิศยินดี. (2551). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจการผลิตกุ้งขาวในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี.(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานเกษตรอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2565). ข้อมูลการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565, จาก http://huasai.nakornsri.doae.go.th.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2558). เอกสารประกอบการอบรมเกี่ยวกับการวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์การเกษตร. (ฉบับถ่ายเอกสาร).

เอกพล รัตนพันธ์. (2562). ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังผลกระทบจากโรค EMS. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565, จาก https://hectortarr.arda.or.th/api/uploaded_file/ZJbM_14S_9I05ZOVoIsiB.

Yamane, Taro. (1973). Introductory Analysis. (3rded). Tokyo: Harper International edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31